วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Future Financial Regulations - Are emerging markets’ concerns being addressed?

ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ The Nation   Oct 22, 2010
The Financial Stability Board (FSB - the body that monitors financial institutions risks) is going to propose many new financial regulations to the G20 meeting in Korea. But will they address all the concerns of emerging markets? My answer is - no. What are they?

First, what to do when a global institution fails! The Institute of International Finance, the Washington based body that represents large international banks, calls for G20 to set up an international framework for cross-border resolution. It suggests that the host and the home regulators should have joint proceedings and shared power to sort out assets and liabilities across the world.

Suppose that global institution has a significant business in an emerging market, but suppose it represents only a small part of the whole, will that emerging market be invited?

During the last crisis, when American International Group (AIG) showed signs of trouble, we in Thailand were worried. AIG had a leading share of retail life insurance in Thailand. If it should go under and take as long to liquidate as Lehman Bros., it would create big disruptions. My Finance Minister asked me to see whether Thailand’s portion of the business could be easily carved out and bought by local investors. It could not, because the Thai operation was part of a global network.

Some countries require foreign institutions to operate only in the form of locally incorporated subsidiaries. In this model, the local operation could be saved quickly by simply negotiating for sale of the subsidiary. I hope G20 will come up with a good solution, otherwise more and more emerging markets will be driven to this model.

Second, how to encourage banks to move the trading of derivatives onto exchanges! Currently a lot of derivatives are traded between banks in the over-the-counter markets. This creates interconnectedness between banks which can be pulled down en mass when one is closed down. All countries are now urged to instead have derivative transactions traded on exchanges with central clearing in order to reduce systemic risk. But in most emerging markets, private banks have no incentive to do so. What additional tools can be available to the regulators?

The answer may be in the calculation of BIS capital ratios, where banks have to attach risk weights to various classes of assets. It should help if the rules are amended to require a higher risk weight for outstanding balances with other banks for trades done over-the-counter, against a lower weight for trades done on exchanges.

Third, how to better regulate hedge funds! This issue was raised since 1997 but has been ignored until this crisis. By definition, emerging markets often have temporary imbalances; such as in their currency values in the case of Thailand, or in their international bond yields in the case of Greece. They need time in order to work out these imbalances. But hedge funds will rob the emerging markets of this precious time.

The answer may also be in the BIS capital ratios. The banks that lend to or have trading balances with hedge funds should be required to attach higher risk weights to these exposures to reflect the high leverage of these hedge funds. A normal risk weight is 100% for current loans and 150% for non performing loans. Exposures to hedge funds should carry risk weights even higher than 150% to reflect their high risks.

Finally, how to have a better restructuring mechanism for emerging market foreign debts! Thailand entered the IMF program in 1997, but it was not a good experience. We certainly don’t want it again. Emerging markets need an alternative to the IMF program.

Back in 1997, if Thailand decided not to enter the IMF program, what else could we have done? At that time, the Bank of Thailand sold forward against Thai Baht to hedge funds most of its reserves which was US$ 20 billion or so. I would have closed down the offshore market for Thai Baht to squeeze out the hedge funds and gain back the reserves. But it would have to be closed down completely without a timeframe, like Malaysia did. And then I would have announced a temporary moratorium on foreign debts.

Would this have been better than going to the IMF? There are pluses and minuses. On the plus side, we would have had the reserves back. We could have followed our own plan for financial institution restricting. And it would not have affected Thailand’s ability to return to the international market because, as it turned out, we paid back all banks’ foreign debts in full within two years after the crisis anyway. On the minus side, there would have been no outside force to push for reform.

But here is the problem. When a private company needs temporary protection from its creditors, there is Chapter 11. Why don’t we have something similar for sovereign debts? I think we need a framework that can allow sovereign debts to be temporarily frozen, re-scheduled, even with a haircut, and then for the countries to later be able to come back to the market in an orderly fashion.

Who should think about these issues if not the G20 and the FSB?

มาตรการกำกับสถาบันการเงินของ G20 ได้คำนึงถึงประเทศกำลังพัฒนาหรือยัง

ตีพิมพ์ใน น.ส.พ. กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 22 ต.ค. 2553

Financial Stability Board (FSB องค์กรที่ทำหน้าที่ติดตามความเสี่ยงระบบสถาบันการเงิน) ขณะนี้กำลังพิจารณามาตรการใหม่ ๆ หลายเรื่องเพื่อเสนอต่อที่ประชุม G20 ที่จะจัดขึ้นที่ประเทศเกาหลี แต่เนื่องจากสมาชิก FSB ส่วนใหญ่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว มาตรการเหล่านี้จึงยังไม่ครอบคลุมปัญหาที่สำคัญของประเทศกำลังพัฒนา


เรื่องแรกคือจะทำอย่างไรหากในอนาคตมีสถาบันการเงินข้ามชาติล้มอีก เพราะกรณีของ Lehman Brothers ตอกย้ำว่ากระบวนการในการชำระสะสางบัญชีนั้นยังยุ่งยากและกินเวลามาก

ในเรื่องนี้ Institute of International Finance ซึ่งเป็นตัวแทนของสถาบันการเงินข้ามชาติ ได้เสนอให้มีการพิจารณาจัดตั้งขบวนการเฉพาะกิจเพื่อสะสางและจัดสรรทรัพย์สินและหนี้สินที่มีกระจายอยู่ทั่วโลกอย่างเป็นระบบ โดยเปิดหน่วยงานกำกับสถาบันการเงินของทั้งประเทศแม่และประเทศที่สถาบันนั้นเข้าไปทำธุรกิจมาร่วมกันประชุมตัดสินใจ แต่มีคำถามว่าหากปริมาณธุรกิจที่มีอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นสัดส่วนที่เล็กเทียบกับสินทรัพย์รวม ก็ไม่ชัดเจนว่าประเทศกำลังพัฒนานั้นจะมีส่วนร่วมในขบวนการนี้ได้หรือไม่

กรณีของไทยได้ตระหนักถึงปัญหานี้เมื่อเริ่มมีข่าวว่า American International Group (AIG) ประสบปัญหาการเงิน เพราะ AIG มีลูกค้าธุรกิจประกันชีวิตรายย่อยในไทยเป็นจำนวนมาก หากต้องปิดกิจการและใช้เวลาชำระบัญชีนานจะมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง รัฐมนตรีคลังจึงสั่งให้ผมศึกษาความเป็นไปได้ที่จะเจรจาให้คนไทยขอแยกซื้อธุรกิจเฉพาะในไทย แต่ผลปรากฏว่าทำไม่ได้เนื่องจากธุรกิจทำในรูปแบบของสาขาที่ไม่แยกออกจากนิติบุคคลโดยรวม

สำหรับรูปแบบของการทำธุรกิจข้ามพรมแดนนั้น นอกจากในรูปของสาขาแล้ว มีบางประเทศ เช่น มาเลเซีย ที่ได้กำหนดให้สถาบันการเงินต่างชาติต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทลูกในมาเลเซีย ซึ่งกรณี AIG หากไทยได้ใช้รูปแบบนี้มาแต่ต้น ก็คงสามารถเจรจาให้สถาบันแม่ขายหุ้นในบริษัทลูกออกไปได้โดยง่าย

ในเรื่องนี้ หาก FSB ไม่สนใจหาทางออกให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา ก็คงจะมีหลายประเทศที่จะพิจารณาหันไปบังคับใช้รูปแบบบริษัทลูกกันมากขึ้น ๆ

เรื่องที่สองคือขณะนี้ทั่วโลกมีแนวนโยบายที่จะพยายามผลักดันให้การซื้อขายอนุพันธ์ที่ปัจจุบันซื้อขายระหว่างสถาบันกันเองแบบ over the counter เปลี่ยนไปเป็นซื้อขายผ่านตลาดที่มีการรวมศูนย์หักบัญชี เพื่อลดความเสี่ยงที่หากสถาบันหนึ่งปิดกิจการ จะได้ไม่มียอดหนี้คงค้างระหว่างสถาบันที่จะลากให้ล้มตามกันไปเป็นพรวน แต่ในประเทศกำลังพัฒนาจะมีปัญหาว่า สถาบันการเงินส่วนใหญ่ได้ค้าขายระหว่างกันมาเป็นเวลานาน และไม่มีแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนไปซื้อขายผ่านตลาด

ในเรื่องนี้ FSB สามารถช่วยได้ หากมีการประสานงานเพื่อแก้ไขกฎระเบียบในการคำนวณอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง โดยกำหนดให้ยอดหนี้คงค้างจากการซื้อขายแบบ over the counter ต้องใช้น้ำหนักความเสี่ยงที่สูงเปรียบเทียบกับการค้าขายผ่านตลาด

เรื่องที่สามคือปัญหาของ hedge fund ปัญหานี้สืบเนื่องจากการที่ประเทศกำลังพัฒนามักจะมีความไม่สมดุลชั่วคราวเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ซึ่งต้องใช้เวลาแก้ไขช่วงหนึ่ง ปัญหาอาจจะเป็นเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนในกรณีของไทยในปี 2540 หรือเป็นเรื่องราคาพันธบัตรรัฐบาลในกรณีของกรีซในปีนี้ ประเทศกำลังพัฒนาจึงตกเป็นเหยื่อของ hedge fund อยู่เนืองๆ ซึ่งหากปล่อยให้ hedge fund ใช้ประโยชน์จากระบบการเงินของโลกเพื่อการนี้อย่างไม่มีการควบคุม ก็จะไม่เป็นธรรม

ในเรื่องนี้ FSB สามารถช่วยได้เช่นกัน โดยกำหนดให้สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมแก่ hedge fund ต้องคำนวณอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงโดยใช้อัตราที่สูงกว่าร้อยละ 150 ที่ใช้สำหรับลูกหนี้ค้างชำระ ซึ่งจะสะท้อนความเสี่ยงที่ถูกต้องเพราะ Hedge Fund ส่วนใหญ่มีการกู้ยืมจำนวนมากกว่าทุนของตนเป็นถึงสิบเท่า

เรื่องสุดท้ายคือประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบปัญหาการเงิน หากไม่ประสงค์ที่จะเข้าโครงการของ IMF ก็ควรจะมีทางเลือกอื่นที่เหมาะสม ดังเห็นว่าในกรณีบริษัทเอกชนจะสามารถเข้าขบวนการของศาลฟื้นฟูเพื่อคุ้มครองจากเจ้าหนี้ได้ชั่วคราว และสามารถที่จะมี Hair cut เพื่อลดหนี้ได้ รวมทั้งสามารถที่จะกลับไปกู้เงินจากตลาดเงินได้ใหม่เมื่อฐานะดีขึ้น กรณีหนี้ของระดับประเทศก็ควรมีโอกาสเช่นนี้

มีคนสอบถามผมว่า หากในปี 2540 ประเทศไทยไม่เข้าโครงการ IMF จะต้องทำอย่างไร ในขณะนั้นเนื่องจาก ธปท. ได้ขายดอลลาร์ในทุนสำรองออกไปล่วงหน้าจำนวนมาก โดย hedge fund มีหน้าที่จะต้องนำส่งเงินบาทเป็นการแลกเปลี่ยน ดังนั้น การปิดตลาดเงินบาทนอกประเทศจึงต้องทำแบบต่อเนื่องโดยไม่มีกำหนดเวลา และต้องปิดแบบสิ้นเชิงอย่างที่ประเทศมาเลเซียดำเนินการ คือประกาศให้เงินบาทที่อยู่นอกประเทศไทยไม่มีมูลค่าใดๆ อีกต่อไป เมื่อทำเช่นนี้ hedge fund ที่จะส่งมอบเงินบาท ก็จะต้องมาซื้อโดยตรงกับ ธปท. เท่านั้นในอัตราแลกเปลี่ยนที่ ธปท. กำหนด

วิธีนี้จะทำให้ไทยได้ทุนสำรองคืนทั้งหมด และจะไม่กระทบโอกาสที่ประเทศไทยจะกลับไประดมเงินจากตลาดสากลในภายหลัง เนื่องจากไทยสามารถชำระหนี้ต่างประเทศได้เต็มจำนวนภายในเวลาสองปีอยู่แล้ว แต่จะมีข้อเสียคือต้องประกาศหยุดชำระหนี้ชั่วคราวเป็นเวลาสองหรือสามปี

ถามว่า FSB ควรจะยกเรื่องนี้ขึ้นพิจารณาหรือไม่ คำตอบคือสมควรอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนาในอนาคตแล้ว ยังจะสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในยุโรปที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ด้วย

หาก FSB และ G20 ไม่สนใจแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ก็เป็นที่น่าเสียดายว่าไม่ได้ใช้วิกฤตครั้งนี้เป็นโอกาสเท่าที่ควร

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ก.ล.ต.ออกมาตรการป้องปรามสร้างราคาหุ้นจากคำสั่งซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต

กรุงเทพฯ 23 ก.ย.-นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ ประจำไตรมาส 3 ของปี 2553 ว่าได้หารือถึงมาตรการป้องปรามการสร้างราคาหลักทรัพย์จากการส่งคำสั่งซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต

นายธีระชัย กล่าวว่า สมาคมฯ ได้หารือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ที่จะมีมาตรการดูแลไม่ให้มีการซื้อขายที่มีลักษณะไม่เหมาะสมเข้าสู่ระบบ โดย ตลท.จะทบทวนและปรับปรุงมาตรการที่เกี่ยวข้องให้มีความเข้มงวดยิ่งขึ้น และบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) แต่ละแห่งจะให้ความร่วมมือคอยติดตามคำสั่งซื้อขายหุ้น Turnover List หุ้นร้อนแรงที่เป็นข่าว หรือหุ้นที่ ตลท.แจ้งให้จับตาเป็นพิเศษ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องดังกล่าวมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการป้องปรามบุคลากรของ บล. ในการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนการสร้างราคาหลักทรัพย์ ซึ่ง ก.ล.ต.พบว่า ในหลายกรณีมีเจ้าหน้าที่การตลาด และ/หรือผู้บริหารของ บล. มีพฤติกรรมที่อาจเป็นการช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือเข้าข่ายการสร้างราคาหลักทรัพย์ เช่น เจ้าหน้าที่การตลาดรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์จากบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าของบัญชีและไม่ได้รับมอบอำนาจ และดำเนินการตามคำสั่งซื้อขายของลูกค้าโดยไม่เก็บหลักฐาน ก.ล.ต.จึงได้แจ้งให้สมาคมไปกำหนดแนวทางการปฏิบัติของ บล.ในการป้องกันพฤติกรรมดังกล่าว เช่น บล.จะต้องตรวจสอบการซื้อขายอย่างสม่ำเสมอและบันทึกผลการตรวจสอบเป็นลายลักษณ์อักษร ต้องให้ความสำคัญกับการตรวจสอบกรณีที่พบว่ามีการซื้อขายกระจุกตัวอยู่ในหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง และเป็นการซื้อขายจากลูกค้าของเจ้าหน้าที่การตลาดทีมใดทีมหนึ่ง รวมทั้งต้องแจ้ง ก.ล.ต. เมื่อพบข้อสังเกตที่อาจแสดงว่ามีการสร้างราคา หรือให้ความช่วยเหลือในการสร้างราคาหลักทรัพย์.-สำนักข่าวไทย

ก.ล.ต.ปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนการขายหุ้นกู้ securitization ของรัฐบาลต่างประเทศ

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในการ ประชุมครั้งที่ 12/2553 ประจำเดือนกันยายน ว่า คณะกรรมการเห็นชอบให้แก้ไขหลักเกณฑ์การออกและเสนอขายหุ้นกู้จากการแปลง สินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (หุ้นกู้ securitization) ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

หลักเกณฑ์ที่แก้ไขในครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้รัฐบาลต่างประเทศสามารถเป็น ผู้ระดมทุน (originator) ในโครงการออกและเสนอขายหุ้นกู้ securitization ได้ โดยให้ทำได้ทั้งในรูปสกุลเงินบาทและเงินตราต่างประเทศ และใช้อันดับความน่าเชื่อถือที่จัดทำโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ระหว่างประเทศได้ และเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ลงทุน หลักเกณฑ์จึงได้กำหนดให้ผู้ระดมทุนต้องเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงจากอัตราแลก เปลี่ยนหากออกหุ้นกู้เป็นเงินตราต่างประเทศ และความเสี่ยงจากการที่ originator เป็นต่างประเทศ เช่น การมีแหล่งรายได้จากต่างประเทศ และข้อจำกัดของการบังคับใช้กฎหมาย เป็นต้น

“การขยายขอบเขตการอนุญาตดังกล่าวสอดคล้องกับแผนพัฒนาตลาดทุนไทยที่มีวัตถุ ประสงค์เชื่อมโยงตลาดทุนในภูมิภาคอาเซียน ช่วยให้ประเทศสมาชิกสามารถออกและเสนอขายสินค้าระหว่างกันได้สะดวกขึ้น และการให้รัฐบาลต่างประเทศเสนอขายหุ้นกู้ securitization ได้นี้ ยังเป็นการส่งเสริมบทบาทของตลาดทุนไทยในภูมิภาค เพราะเมื่อเราอนุญาตให้รัฐบาลต่างประเทศเสนอขายตราสารดังกล่าวในไทยได้แล้ว ต่อไปบริษัทหรือธุรกิจในประเทศเหล่านั้นก็จะเห็นลู่ทางเข้ามาทำธุรกรรมใน ตลาดทุนในรูปแบบอื่นอีก เช่น เข้ามาระดมทุนและจดทะเบียนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์”

ก.ล.ต.ปรับปรุงหลักเกณฑ์การขายหุ้นกู้จากการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

ก.ล.ต. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การขายหุ้นกู้จากการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐบาลต่างประเทศเป็นผู้ระดมทุนได้

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในการประชุมครั้งที่ 12/2553 ประจำเดือนกันยายน เห็นชอบให้แก้ไขหลักเกณฑ์การออกและเสนอขายหุ้นกู้จากการแปลงสินทรัพย์เป็น หลักทรัพย์ (หุ้นกู้ securitization) ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐบาลต่างประเทศสามารถเป็นผู้ระดมทุน ในโครงการออกหุ้นกู้และเสนอขายหุ้นกู้ securitization ได้ ทั้งในรูปสกุลเงินบาทและเงินตราต่างประเทศ และใช้อันดับความน่าเชื่อถือที่จัดทำโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ระหว่างประเทศได้

รวมทั้งเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ลงทุน จึงได้กำหนดให้ผู้ระดมทุนต้องเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน หากออกหุ้นกู้เป็นเงินตราต่างประเทศ และความเสี่ยงจากการที่ผู้ระดมทุนเป็นต่างประเทศ เช่น การมีแหล่งรายได้จากต่างประเทศ และข้อจำกัดของการบังคับใช้กฎหมาย เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า การขยายขอบเขตการอนุญาตดังกล่าว สอดคล้องกับแผนพัฒนาตลาดทุนไทย มีวัตถุประสงค์เชื่อมโยงตลาดทุนในภูมิภาคอาเซียน ช่วยให้ประเทศสมาชิกสามารถออกและเสนอขายสินค้าระหว่างกันได้สะดวกขึ้น และการให้รัฐบาลต่างประเทศเสนอขายหุ้นกู้ securitization ได้ ยังเป็นการส่งเสริมบทบาทของตลาดทุนไทยในภูมิภาค เพราะเมื่ออนุญาตให้รัฐบาลต่างประเทศเสนอขายตราสารในไทยได้แล้ว ต่อไปบริษัทหรือธุรกิจในประเทศเหล่านั้น จะเห็นลู่ทางเข้ามาทำธุรกรรมในตลาดทุนในรูปแบบอื่น อาทิ การเข้ามาระดมทุนและจดทะเบียนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์

ธีระชัย ชี้เงินทุนไหลเข้า หุ้นไทยกระทิงขวิด


นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)กล่าวถึงกรณีที่เงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในประเทศไทยและตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องว่า จากการพูดคุยกับบริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศถึงเหตุลผลของการเข้ามาลงทุนนั้นพบว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคนี้เติบโตดีมาก และโตดีกว่าประเทสอื่นโดยเฉพาะประเทศไทยดังนั้นจึงทำให้เม็ดเงินทุนต่างประเทศยังคงไหลเข้ามา และเมื่อการลงทุนจากต่างประเทศคึกคักก็ทำให้นักลงทุนคนไทยมีความคึกคักตามไปด้วยเห็นได้จากปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่หนาแน่นมาก


อย่างไรก็ตาม ก.ล.ต.ในฐานะผู้กำกับดูแลตลาดทุนก็ได้มีการประสานงานกับทางตลาดหลักทรัพย์อย่างใกล้ชิก เพื่อไม่ให้เกิดการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากตลาดหุ้นไทยซึ่งการตรวจสอบก็เกิดขึ้นตลอดเวลาอยู่แล้ว และที่ผ่านมาทางตลาดหลักทรัพย์เองก็ได้มีการส่งกรณีที่มีความผิดปกติในการลงทุนมาให้ก.ล.ต.ตรวจสอบในเชิงลึกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นหุ้นขนาดเล็กๆนั้นเอง ส่วนหุ้นขึ้นรอบนี้ยังไม่พบความผิดปกติอะไร


ส่วนหุ้นขนาดใหญ่ที่อยู่ในSET 25 หรือ SET50 นั้นการขึ้นลงของราคาหุ้นก็น่าจะขึ้นกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ดังนั้นการที่เศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้ดีก็จะยัคงเห็นเม็ดเงินทุนไหลเข้ามา

"ในภาวะหุ้นกระทิงนักลงทุนก็ต้องระมัดระวังโดยเฉพาะนักลงทุนรายย่อย ที่การลงทุนก็ให้ดูหุ้นพื้นฐานที่ดีเพราะจะมีความปลอดภัยจากการลงทุน"

นอกจากนี้ การที่ตลาดหุ้นไทยเข้าสู่ภาวะกระทิงก็จะทำให้เจ้าของธุรกิจหรือบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่มีความต้องการเงินก็จะเห็นการระดมทุนด้วยการเพิ่มทุนมากขึ้นและการเพิ่มทุนในช่วงตลาดหุ้นดีจะทำให้มีต้นทุนที่ต่ำ

Interview : ต่อจิ๊กซอว์เมืองไทยผ่านวิสัยทัศน์ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล

“เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” วลีดังกล่าวคงครอบคลุมความเข้าใจในผลกระทบอันเป็นลูกโซ่ ณ เวลานี้ได้เป็นอย่างดี แม้ว่าภาวะสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้อยคุณภาพหรือซับไพรม์ (Subprime) ในสหรัฐอเมริกาจะอยู่ไกลจากประเทศไทยกว่าครึ่งโลกก็ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปทั่ว เช่นเดียวกับราคาน้ำมันในตลาดโลกซึ่งราคาพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ทำให้ทั้งโลกเกิดภาวะข้าวยากหมากแพง หรือสภาพแวดล้อมซึ่งเปลี่ยนแปลงไปสู่ความรุนแรงยังคืบคลานมาจ่อถึงประตูบ้านของสหภาพเมียนมาร์ ขณะที่วิกฤตศรัทธาในทางการเมืองของไทยส่งคลื่นกระแทกต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ฯลฯ

เมื่อสบโอกาสได้บุกห้องทำงานบนชั้น 16 อาคารจีพีเอฟ วิทยุ ของ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล จึงไถ่ถามความเห็นมาฝากคุณผู้อ่าน แม้ว่าบางคำถามอาจเป็นเรื่องเบาและไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยตรง แต่จากวิสัยทัศน์ในฐานะบัณฑิตเศรษฐศาสตร์ B.Sc. (Econ.) จาก London School of Economics and Political Science มหาวิทยาลัยลอนดอน รวมถึงหลักสูตร Senior Managers in Government จาก John F. Kennedy School มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด บวกประสบการณ์ซึ่งสั่งสมมาอย่างยาวนานในชีวิตการทำงาน ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย ในตำแหน่งรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ก่อนโบกมือลาวังบางขุนพรหมมาอยู่อาคารสูงประชิดสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ถนนวิทยุ ทำให้ทุกคำตอบต่อจิ๊กซอว์ให้เห็นภาพของเมืองไทยอันเกี่ยวเนื่องต่อกันทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

ไฮคลาส : มุมมองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยและโลกภายนอก

ถ้าเทียบกับวิกฤตเอเชียที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2540 ขณะนี้เบากว่าเยอะ เพราะปีนั้นเกิดแรงกระแทกไม่ใช่เฉพาะกรณีของประเทศไทย แต่ลามไปยังประเทศในเอเชียหลายประเทศพร้อมกัน และเป็นวิกฤตซึ่งระบบการเงินของเราถูกกระทบมาก การปล่อยสินเชื่อจึงถูกกระทบไปหมด

แต่ครั้งนี้หากมองในมุมทางเศรษฐกิจ มันเกิดจากปัญหาเรื่องราคาน้ำมันและราคาอาหารเป็นหลัก ราคาน้ำมันนั้นมีลักษณะคล้ายเราถูกเก็บภาษีเถื่อน ถ้าปกติรัฐบาลไทยเก็บมันก็จะเอาไปสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ แต่เที่ยวนี้ไม่ใช่ มันเป็นภาษีซึ่งรัฐบาลของประเทศที่ส่งออกน้ำมันเรียกเก็บ เท่ากับว่าเราเทเงินไปให้เขา กำลังซื้อของเราก็ลดลง ทำให้การจับจ่ายใช้สอยของเราลดลงไปด้วย แต่ว่ามันเป็นปัจจัยหนึ่งและเป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาพรวมเศรษฐกิจ มันจึงไม่กระเทือนแรงเหมือนเมื่อปี 2540

ถ้าถามว่าวิกฤตขณะนี้รุนแรงไหม ผมคิดว่ายังไม่ถึงขั้นรุนแรง แต่ในแง่ผลกระทบต่อตลาดทุนตลาดหุ้นของไทย มันมีผลกระทบจากทางด้านการเมืองประกอบเข้ามาด้วย เมืองไทยเวลานี้โดนต่างประเทศมอง 2 เรื่อง เรื่องแรกคือผลกระทบจากแรงกดดันเรื่องราคาน้ำมัน อีกเรื่องคือด้านการเมือง ก็หวังว่าในส่วนแรก ผลกระทบจากราคาน้ำมันเราจะค่อยๆ ปรับตัวได้ ส่วนผลกระทบทางด้านการเมืองเราคงจะมีทางออกได้ดีขึ้นในไม่ช้า

ไฮคลาส : หากเปรียบเป็นการเดินข้ามสะพาน ตอนนี้เราข้ามไปถึงกลางสะพานและกำลังเดินลง หรือเพิ่งเดินขึ้นไปอยู่กลางสะพาน

ถ้ามองภาวะเศรษฐกิจขณะนี้ ความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกผมคิดว่าปีนี้ยังไม่เสี่ยงเต็มที่ ความเสี่ยงจะเกิดมากขึ้นในปีหน้า 2552 และอาจจะต่อเนื่องไปถึงปี 2553 เพราะผมคิดว่าราคาน้ำมันถ้ายังคงอยู่ในระดับสูงอย่างนี้มันจะทำให้กำลังซื้อลดลง ไม่เฉพาะในประเทศไทยแต่รวมถึงประเทศอื่นทั่วโลก

เมื่อกำลังซื้อลดลงสิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือกำลังในการนำเข้าสินค้าจากประเทศแถบเอเชียก็จะลดลงไป นอกจากนี้ เมื่อตอนราคาน้ำมันพุ่งขึ้นสูงเมื่อ 15-16 ปีที่แล้ว สิ่งที่เห็นประการหนึ่งก็คือการสั่งซื้อสินค้าของประเทศพัฒนาแล้ว แทนที่จะซื้อจากประเทศที่อยู่ห่างไกลเนื่องจากต้นทุนในเรื่องการขนส่งมีสัดส่วนสูงขึ้น กลายเป็นว่าประเทศเหล่านี้ก็หดตัวมาซื้อประเทศที่ใกล้มากขึ้น เห็นได้จากกรณีของสหรัฐอเมริกา สัดส่วนนำเข้าจากประเทศในเอเชียลดลง แล้วสัดส่วนนำเข้าจากประเทศลาตินอเมริกาเพิ่มขึ้น สำหรับประเทศในยุโรปผมเชื่อว่าแนวโน้มก็จะเป็นการลดสัดส่วนนำเข้าจากเอเชีย แล้วไปเพิ่มการนำเข้าจากประเทศในยุโรปตะวันออกซึ่งเป็นประเทศพัฒนาใหม่แทน ตรงนี้เป็นการปรับตัวที่ผมคิดว่ากำลังในการค้าขายของประเทศในเอเชียมันอ่อนตัวลง

คำถามก็คือมันจะอ่อนตัวลงมากน้อยแค่ไหน อย่างไร ถ้าเราดูผลกระทบและความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ผมเชื่อว่าเรายังไม่ได้อยู่ในจุดสูงสุดของสะพาน จุดสูงสุดของสะพานเราอาจจะเห็นในปีหน้า และถ้าการปรับตัวของประเทศพัฒนาแล้ว G3 ประเทศใหญ่สุด 3 อันดับของโลก (สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเยอรมนี) ไม่ดี ผลกระทบของเราจะมีมาก แต่ถ้าเขาค่อยๆ ปรับตัวได้ดีผลกระทบก็จะมีน้อย เรายังไม่ถึงจุดสูงสุดของสะพาน แต่จุดสูงสุดของสะพานอาจจะไม่สูงไปกว่านี้มากนัก ขึ้นอยู่กับการปรับตัวของทุกคนที่เกี่ยวข้อง

ไฮคลาส : แล้วปีหน้าสะพานจะชำรุดไหม

ปีหน้าสะพานจะชำรุดหรือไม่...สำหรับผมคิดว่าการปรับตัวมันเกิดขึ้นอยู่แล้ว มนุษย์เรามีความชำนาญในการปรับตัว ผมยกตัวอย่างเช่นกรณีราคาน้ำมันที่แพงขึ้น ถ้าเราไปในยุโรป ผมนั่งรถไฟจากสนามบินในมิวนิคเข้าสู่เมืองใช้เวลาประมาณ 30 นาที ผ่านประมาณสิบกว่าสถานี ทุกสถานีที่อยู่ชานเมืองจะมีที่จอด ไม่ใช่ที่จอดรถยนต์ แต่เดี๋ยวนี้เป็นที่จอดรถจักรยาน มีซองมีที่ล็อคและมีหลังคาอย่างดี นอกจากนี้ถ้าเราไปในเมืองใหญ่ๆ ในยุโรปเวลานี้ การเดินต้องระวังเพราะว่าบนทางเท้าจะมีที่สำหรับขี่จักรยาน ประชาชนไปไหนมาไหนโดยใช้จักรยานมาก ตามร้านในยุโรปจะมีป้ายโฆษณาตั้งอยู่หน้าร้าน และที่ประกอบกับป้ายโฆษณาก็มีที่เสียบล้อสำหรับล็อคจักรยาน นอกจากนี้บางเมืองมีจักรยานของเทศบาลซึ่งใครจะขี่ก็ได้ ขี่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เมื่อถึงแล้วก็จอดทิ้งไว้ใครจะมาใช้ต่อก็เชิญ จึงบอกได้ว่าลักษณะการปรับตัวมันเกิดขึ้นอยู่เสมอ

ถ้าเราดูอัตราการเพิ่มของการใช้น้ำมันในประเทศพัฒนาแล้วเวลานี้ อัตราการเพิ่มชะลอตัวลงมากเลย มีแต่ประเทศกำลังพัฒนานี่แหละ โดยเฉพาะประเทศจีน อินเดียซึ่งยังใช้มาก ผมคิดว่าทุกคนเมื่อค่อยๆ ปรับตัวแล้วทุกอย่างก็จะค่อยๆ เข้าที่

ไฮคลาส : ก.ล.ต.วางแผนรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบันและในอนาคตอย่างไร

ในแง่ขององค์กร จุดแรกก็คือขณะนี้การที่ราคาน้ำมันแพงขึ้นและค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้พนักงานระดับชั้นผู้น้อยของเรา (ก.ล.ต.) ได้รับผลกระทบ เพราะฉะนั้นเราจึงปรับค่าครองชีพให้กับพนักงานชั้นผู้น้อยไปแล้ว นั่นคือส่วนที่เป็นการเยียวยา

ในแง่ของการมองภาพรวมเชิงนโยบายว่าเรามีวิธีการที่จะทำอะไรได้ ตอนนี้อาชีพหลักของเราคือการกำกับดูแลตลาดทุน เราคิดว่าสิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดในขณะนี้ก็คือต้องสร้างความเชื่อมั่นในตลาดทุน โดยมองจากแง่มุมอื่นนอกเหนือจากในเรื่องของผลกระทบจากน้ำมัน ในแง่ของความเชื่อมั่นจากการบริหารจัดการที่ดี ความเชื่อมั่นในเรื่องของการทำธุรกิจที่เป็นธรรม ความเชื่อมั่นในการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย และการพัฒนาในเรื่องของกระบวนการจัดการต่างๆ ซึ่งเราทำมาโดยต่อเนื่อง เราก็จะทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ พูดง่ายๆ ว่าในขณะนี้มันอาจจะมีภาพที่ติดลบ ซึ่งนักลงทุนทั้งในประเทศหรือต่างประเทศอาจมองตลาดทุนว่ามีภาพที่ติดลบอยู่ในบางจุด เช่น ในจุดที่มาจากเรื่องราคาน้ำมัน จุดที่เป็นเรื่องกำลังซื้อกำลังจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่อ่อนตัวลง ในระหว่างที่ 2 ตัวนี้กำลังจะปรับตัว เราก็ต้องทำด้านอื่นๆ ให้ดีขึ้นมา ทำให้พร้อมเข้าไว้ เมื่อไหร่ที่ปัญหาคลี่คลายความเชื่อมั่นโดยรวมก็จะดีขึ้น

สำหรับคนทั่วไป ผมอยากให้ถือตรงนี้เป็นโอกาสในการปรับตัว อย่างแรกคือสร้างจิตสำนึกในการประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลาย ประการแรกก็คงจะต้องเลิกใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น การใช้ไฟฟ้าในห้องที่ไม่จำเป็น การเปิดไฟหลายห้องก็พยายามมารวมกันห้องเดียว การวางแผนการเดินทาง โดยตัดการเดินทางที่ไม่จำเป็นออกไป เดินทางโดยพยายามรวมศูนย์รวมคนในลักษณะ Pooling ก็ต้องทำให้เกิดมากขึ้น นอกจากนี้พวกเครื่องมือเครื่องจักรเครื่องใช้ต่างๆ ของเราก็ถึงเวลาที่ทุกๆ คนที่เกี่ยวข้องต้องหาทางปรับปรุงและลงทุน อาจต้องใช้เครื่องมือเครื่องจักรซึ่งประหยัดพลังงานมากขึ้น ในเรื่องของประสิทธิภาพการใช้ เครื่องที่มันหลวม เครื่องที่มันเก่าก็ต้องคิดแล้ว สมัยก่อนอาจจะไม่คุ้มในการเปลี่ยน แต่ต่อไปนี้จะต้องคุ้ม

การมีชีวิตอยู่ในแต่ละวันของเราต้องพยายามตระหนักและคำนึงถึงเรื่องนี้ ผมเองก็ยังคิดว่าการนำกลับมาใช้ใหม่ การรีไซเคิลควรจะเป็นกระบวนการที่หากเป็นได้ ผมอยากให้สังคมช่วยกันคิดอ่านการทำเรื่องเหล่านี้ ที่อยากเล่าให้ฟังคือยุโรปเน้นเรื่องนี้มาก ฉะนั้นสินค้าที่จะนำเข้าไปในยุโรป กระบวนการเมื่อสินค้าเลิกใช้แล้วจะนำไปกำจัดกากกำจัดซากอย่างไรจะต้องมีแผนที่ชัดเจน การรีไซเคิลในยุโรปอย่างเช่นน้ำมันประกอบอาหารที่ใช้แล้วสามารถนำมาใช้เป็นไบโอดีเซลได้ ในเมืองไทยอาจจะเน้นเฉพาะน้ำมันที่ใช้ในโรงงานใหญ่เช่น น้ำมันที่ใช้ทอดบะหมี่ในโรงงานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แต่ในต่างประเทศมันกระจายไปจนถึงระดับชาวบ้าน ตรงที่ว่าบ้านไหนในแต่ละวันพอใช้แล้วก็จะเทใส่ขวดไว้ พอเต็มขวดแล้วกระบวนการเก็บขยะเขาจะมีขวดเปล่ามาแทนขวดที่เราใส่น้ำมันที่ใช้แล้ว ตรงนี้เป็นความจำเป็นที่เราจะต้องคิดอ่านเรื่องเหล่านี้ ถ้าเราสามารถประสานงานและจัดการขึ้นมาได้โดยเฉพาะในชุมชนเมือง น่าจะถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะทำให้วิกฤตนั้นเป็นโอกาส

ไฮคลาส : อยากให้ช่วยขยายความถึงโอกาสในวิกฤต

ดังที่ผมพูดถึงว่าเราควรใช้วิกฤตนี้ในการปรับพฤติกรรม โอกาสที่จะเห็นได้ชัดในเชิงธุรกิจจากนี้ไปคือธุรกิจซึ่งช่วยในการประหยัดพลังงาน ธุรกิจที่ช่วยในการรีไซเคิลวัตถุต่างๆ ผมคิดว่าจะต้องมีแน่นอน เพราะฉะนั้นธุรกิจที่เรียกว่า Waste Management คือเรื่องของการบริหารจัดการขยะ ผมคิดว่าเป็นธุรกิจที่มีอนาคต เท่าที่ดูในหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว ลักษณะของการดูแลการจัดการขยะจะมีความก้าวหน้ามาก ไม่ใช่เฉพาะเอาไปเผานะ แต่หลายแห่งสามารถนำขยะอินทรีย์ไปฝังกลบโดยมีกระบวนการที่ดีมาก โดยการแทรกท่อเพื่อให้หลังจากฝังกลบ บ่มแล้วเกิดก๊าซมีเทนซึ่งสามารถนำมาอัดใช้เพื่อการหุงต้ม ผมเคยเห็นว่ามีการออกแบบลักษณะการบริหารขยะที่ออกแบบจากอินเดียเหมือนกับเป็นถังไฟเบอร์ โดยเขานำมูลคนและมูลสัตว์แต่ละวันไปใส่ เมื่อบ่มแล้วเกิดก๊าซมีเทนต่อท่อเข้าไปใช้ในหมู่บ้านเป็นก๊าซหุงต้มได้ ผมถือว่านี่ก็เป็นโอกาส

นอกจากนั้นผมเห็นว่าเป็นโอกาสที่เราจะต้องบริหารความเสี่ยง เพราะลักษณะของการเปลี่ยนแปลงในภาวะเศรษฐกิจของโลก และการเปลี่ยนแปลงในปัญหาระบบการเงินในสหรัฐ ซึ่งขณะนี้ปัญหาซับไพรม์ก็ยังไม่ฟื้นตัวสักที ผมมองว่าสิ่งที่สำคัญในขณะนี้ประการหนึ่งคือการวางแผนสร้างหนี้ เป็นเรื่องสำคัญมากเลย ในการจับจ่ายใช้สอยรูดเครดิตการ์ดต่างๆ และการสร้างหนี้ในทางธุรกิจต้องคิดวางแผนเผื่อไว้ อย่าไปเล็งผลเลิศ อย่าไปมองว่าเหตุการณ์แบบนี้เราต้องเหยียบคันเร่งกันเต็มที่ มันต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง ถ้าจะว่าไป บอกว่าเป็นโอกาสก็ไม่ใช่ แต่น่าจะเป็นโอกาสในการบริหารความเสี่ยงด้วยความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น

ไฮคลาส : แล้วตัวคุณเองได้ปรับเปลี่ยนอะไรไปแล้วบ้าง

สำหรับตัวผมเอง ผมคิดว่าสถานการณ์แบบนี้เราต้องมองชีวิตเราในลักษณะพอเพียงมากขึ้นกว่าเดิม เพราะฉะนั้นการวางแผนในการจับจ่ายใช้สอย เมื่อเรารู้ว่าค่าใช้จ่ายบางอย่างมันลดไม่ได้ ดังนั้นการจับจ่ายในเรื่องที่ไม่จำเป็นเราต้องพยายามดึงเอาไว้ พยายามลด และเน้นเฉพาะเรื่องที่จำเป็น ตรงนี้เป็นวิธีการปรับตัวในส่วนตัวของผม อีกอันหนึ่งคือพยายามสร้างจิตสำนึกในการประหยัด ไม่ใช่เฉพาะในเรื่องค่าใช้จ่ายแต่รวมถึงเรื่องการเป็นพลเมืองที่ดีของโลก ในการประหยัดพลังงาน และการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ

ไฮคลาส : รวมถึงการใช้บริการรถสาธารณะ

แน่นอนเลยครับ บ้านผมอยู่ลาดพร้าว ซึ่งย่านนั้นรถไฟฟ้ายังไปไม่ถึง ซึ่งแต่ไหนแต่ไรแล้ว ถ้าผมอยู่ในจุดที่ผมใช้ระบบขนส่งมวลชนได้ผมก็จะใช้ ไม่ใช่เฉพาะรถไฟฟ้านะ ที่ผ่านมาในบางจุดที่ผมขึ้นรถเมล์ได้ผมก็ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลามาทำงานแล้วต้องเดินทางระยะสั้นก็สามารถไปได้

ย่านบ้านผมเนื่องจากยังไม่มีการดึงคนมาสู่ระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าได้ง่าย และในลักษณะการทำงานของผมนั้นต้องเดินทางไปประชุมหลายที่ ฉะนั้นถ้าผมออกจากบ้านโดยไม่ใช้รถยนต์มันจะลำบาก ผมจึงจำเป็นต้องนำรถออกมา แต่เมื่อมาถึงออฟฟิศแล้วถ้าต้องไปไหนใกล้ๆ ผมมักเดินทางโดยใช้ขนส่งมวลชนถ้าสามารถไปได้นะ อันนี้เป็นนิสัยตั้งแต่ทำงานอยู่ธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ออกไปทานข้าวกลางวันบางทีผมก็นั่งรถเมล์ไปแล้วก็นั่งรถเมล์กลับ เป็นรถเมล์ร้อนด้วยนะ นั่งไปแถวศรีย่าน โรงพยาบาลวชิระ หรือไม่ก็บางลำพู สิ่งเหล่านี้ผมทำมาตั้งนานแล้ว เป็นความเคยชินของเราเพราะเรานั่งรถเมล์ช่วงกลางวันสะดวกกว่า

ไฮคลาส : ถ้าเช่นนั้นพอมาอยู่ ก.ล.ต. ต้องไปประชุมที่ตลาดหลักทรัพย์คุณคงใช้รถไฟฟ้าใต้ดิน

ขณะนี้ยังไม่ง่ายเพราะกว่าจะเดินไปและกว่าจะเดินมายังค่อนข้างลำบาก ขณะนี้ระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ ยังไม่เชื่อมกันอย่างเต็มที่ เราต้องยอมรับว่าคงต้องรออีก

ไฮคลาส : ในระยะยาว คิดว่า ก.ล.ต.จะมีส่วนสำคัญอย่างไรในการพัฒนาตลาดทุนเมืองไทยไปในทางที่ดีขึ้น

หน้าที่หลักของ ก.ล.ต.มีสองด้าน ด้านหนึ่งเราทำตัวเหมือนตำรวจ ควบคุมดูแลกิจกรรมในตลาดทุน ซึ่งตรงนั้นเราต้องทำโดยการออกกฎระเบียบแล้วมอนิเตอร์ตรวจสอบ ติดตาม และลงโทษ ตรงนั้นเป็นสิ่งที่เราทำอย่างแข็งขัน ซึ่งเราจะทำอย่างแข็งขันต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ที่ผ่านมาเราไม่ได้ทำแข็งขันตามมาตรฐานของเราอย่างเดียวนะ เรามีการประเมินโดยองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) ว่ามาตรฐานของเราออกมาแล้วดีใช้ได้ ได้มีการประเมินในช่วงปีสองปีที่ผ่านมาซึ่งดีมาก และประเมินในหลายๆ ด้าน

อาชีพหลักอีกด้านคือการพัฒนา การวางแผนที่จะมองว่าอนาคตข้างหน้า ตลาดทุนของไทยควรจะอยู่ตรงไหน ไปเชื่อมกับตลาดทุนโลกอย่างไร และกฎระเบียบของเราควรจะมีการแก้ไขอย่างไร ปรับปรุงอย่างไรเพื่อรองรับสิ่งเหล่านี้ นั่นคือสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ คือการวางแผนสำหรับอนาคต

ไฮคลาส : แล้วจะมีอาชีพเสริมเพิ่มเข้ามาอีกไหม

ขณะนี้ทาง ก.ล.ต.โดยตำแหน่งเลขาธิการได้เข้าไปเป็นกรรมการในการติดตามภาวะเศรษฐกิจของกระทรวงการคลัง นี่ก็เป็นครั้งแรก เพิ่งจะเข้าไปเมื่อ 3-4 เดือนที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นเป็นครั้งแรกที่ ก.ล.ต.จะต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเอามาประกอบด้วย

ไฮคลาส : เอามาทำอะไรได้บ้างในบทบาทของก.ล.ต.

อย่างน้อยเราต้องมีการบรรยายและติดตามภาวะตลาดทุน รายงานให้คณะกรรมการนี้ได้ทราบว่าในส่วนจิ๊กซอว์ของเศรษฐกิจประเทศไทย ซึ่งส่วนหนึ่งก็จะมีตลาดทุนเป็นจิ๊กซอว์อันหนึ่ง ขณะนั้นมันมีประเด็นข้อคิดและข้อพิจารณาใดบ้างที่จะเสนอให้คณะกรรมการได้ทราบ ขณะเดียวกันในการประชุมเราก็จะได้รับทราบถึงความเคลื่อนไหวในเศรษฐกิจระดับมหภาคของประเทศจากภาคอื่นที่สำคัญ คือจากทางธนาคารแห่งประเทศไทย จากสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จากกระทรวงการคลังเรื่องงบประมาณ เอามาประกอบ เราเองก็จะได้นำมาใช้ในการคิดอ่านเพื่อการวางแผนของเรา นี่เป็นโจทย์เสริมที่เพิ่งจะเติมเข้ามา

ไฮคลาส : เนื่องจากไฮคลาสเป็นนิตยสารไลฟ์สไตล์ ไม่ใช่นิตยสารธุรกิจ เศรษฐกิจ ขอถามอย่างคนไม่รู้ว่าคน ก.ล.ต.ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์สามารถเล่นหุ้นได้ไหม หรือให้ญาติ ภรรยาหรือลูกเล่นได้ไหม

ไม่ได้ครับ

ไฮคลาส : ครอบคลุมแค่ไหน ถึงเจ็ดชั่วโคตรเลยหรือเปล่า

ทาง ก.ล.ต.เองเรามีข้อห้าม และให้ทำรายงาน ในรายงานนั้นคือ Immediate Plan เอามารวมไว้ในรายงานด้วย ต้องยอมรับว่าในรายงานนี้ถ้าจะว่าไป หากคนเลี่ยงไม่รายงานเขาอาจใช้ให้คนนู้นคนนี้ถือแทนก็อาจจะเป็นได้ แต่ว่าทางเราเองในการเข้าไปตรวจสอบบริษัทโบรกเกอร์เราจะดูรายละเอียดด้วย ถ้ามีคนเล่นที่ดูแล้วน่าสงสัย ว่าทำไมคนนี้เล่นแล้วได้ข้อมูลหรือเข้าไปซื้อหุ้นในบริษัทนี้บริษัทนั้นในลักษณะก่อนที่ข่าวจะออก เราก็จะต้องดึงออกมาดู พูดง่ายๆ ว่าตลาดฯ ในเวลานี้เขามีระบบคอยตามการเปลี่ยนแปลง แล้วสมมติหุ้นใดหุ้นหนึ่งอยู่ดีๆ มีข่าวในทางบวก แล้วราคาหุ้นก็วิ่งขึ้น สิ่งแรกที่เขาต้องทำก็คือไปดูว่าก่อนหน้านั้นมีใครซื้อรึเปล่า ถ้ามีคนซื้อเยอะเขาก็จะเข้าไปดูว่าคนนั้นเป็นใคร ทำนองเดียวกันถ้าวันหนึ่งหุ้นใดหุ้นหนึ่งมีข่าวในทางลบ แล้วราคาร่วง เขาก็จะไปดูว่าก่อนหน้านั้นมีใครขายรึเปล่า เป็นการดูจากหุ้น ฉะนั้นถ้ามีใครเอาข้อมูลภายในไปใช้ก็ทำให้มั่นใจได้ว่าเรารู้เกี่ยวกับบริษัทนั้นในทางบวกหรือในทางลบก่อนคนอื่น

ไฮคลาส : แล้วถ้าใครคนนั้นเป็นระดับที่เรียกว่า “ขาใหญ่”

ต้องอธิบายให้คนเล่นหุ้นเข้าใจ ซึ่งผมคิดว่าคนอ่านนิตยสารไฮคลาสจำนวนหนึ่งเป็นนักเล่นหุ้น และไฮคลาสหลายคนอาจจะไฮเนตเวิร์ค เพราะฉะนั้นพอมีสตางค์อาจจะไม่ได้เล่นหุ้นโดยตรง แต่เป็นลักษณะของการลงทุนผ่านกองทุนรวม ผ่านกระบวนการออมหลายๆ แบบ แต่ว่าหลักของการซื้อขายในลักษณะที่เรียกว่า “ขาใหญ่” เราจะเข้าไปแทรกแซงได้มากน้อยแค่ไหน เป็นจุดที่ต้องระมัดระวังให้ดี

ไฮคลาส : เพราะกลัวว่าจะถูกฟ้อง...

ไม่ใช่ว่ากลัวจะโดนฟ้อง แต่สมมติเกิดการซื้อขายนั้นเป็นการซื้อขายโดยคนที่เป็นขาใหญ่ ซึ่งเขาก็เป็นนักเล่นหุ้นใหญ่ แต่เขาไม่ได้ใช้ข้อมูลภายใน และเขาก็ซื้อขายโดยการมองควบคู่ไปกับคนอื่นในลักษณะที่ดูแล้วว่าช่วงนี้ไอ้ตรงนี้น่าจะดี ช่วงนี้มีปัญหาเรื่องพลังงาน เพราะฉะนั้นบริษัทที่ใช้พลังงานมากราคาน่าจะตก สมมติเป็นการมองแบบนี้แล้วเราจะไปเอาผิดก็ค่อนข้างจะไม่เป็นธรรม

คนเล่นหุ้นที่เป็นขาใหญ่กับคนเล่นหุ้นที่เล่นลักษณะเก็งกำไรและใช้ข้อมูลสาธารณะทั่วไป ต่อให้ซื้อขายมากก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่เราควรจะเปิดโอกาสให้เขาทำได้ สิ่งที่ไม่ถูกต้องก็คือการใช้ข้อมูลภายใน

การใช้ข้อมูลภายในก็คือซื้อก่อนคนอื่นแล้วข่าวออก หรือคนที่ขายก่อนคนอื่นแล้วข่าวออก ส่วนใหญ่มักตามเจอเพราะสามารถมองเห็นการเคลื่อนไหวของราคาและโยงไปได้ว่าเขาเกี่ยวข้องกับคนที่อยู่ภายในหรือไม่ แต่ที่ยากก็คือคนที่ไปซื้อหุ้นใดหุ้นหนึ่งแล้วหลายๆ คนไปซื้อแล้วราคาหุ้นมันวิ่ง...อย่าไปเอ่ยชื่อก็แล้วกันนะเดี๋ยวจะไปผูกโยงซะเปล่า (หัวเราะ) มันจะมีปัญหาว่าสมัยก่อนเราจะเจอกรณีที่เราสามารถลงโทษได้เพราะเราเห็น กรณีที่มีเงินจากเสี่ยคนหนึ่งไปยืมชื่อคนนู้นคนนี้เป็นนอมินีในการขาย เงินไหลจากบัญชีนี้ไปบัญชีโน้นแล้วบัญชีที่ได้รับก็สั่งซื้อขายต่อไป เงินไหลกลับไปกลับมา อย่างนี้เราส่งตำรวจดำเนินคดี ถึงแม้จะดำเนินคดีตามนี้แต่ที่ผ่านมายังเอาผิดไม่ได้นะ แต่ว่าอย่างไรก็ตาม แหล่งเงินที่ไหลออกไหลเข้าจากบัญชีหนึ่งออกไปแล้วไปใช้ชื่อคนนู้นคนนี้ เป็นอาการที่ชัด เราต้องส่งดำเนินคดี แต่ถ้าเป็นกรณีที่คนนี้ก็มีสตางค์ คนนั้นก็มีสตางค์ แล้วต่างคนต่าง...โดยนัดกันรึเปล่าก็ไม่รู้นะ ทำให้ราคามันขึ้น เสร็จแล้วสตางค์ไม่ได้ไหลจากบัญชีนี้มาอีกบัญชี ซื้อเสร็จแล้วกำไรหรือขาดทุนก็อยู่ในบัญชีของตัวเอง การจะไปเอาผิดเราต้องสืบให้ได้ว่าการซื้อนั้นเป็นการนัดแนะ ซึ่งเป็นการสืบที่ยากมาก เพราะฉะนั้นถ้าจะบอกว่าเราจะสืบได้ต้องส่งคนไปฝังตัว คอยดักฟังโทรศัพท์ คอยดูพฤติกรรมว่าเขานัดเจอกันที่ไหน ซึ่งผมคิดว่าไปไกลเกินเหตุ ต้องยอมรับว่าลักษณะแบบนี้ยาก

ฉะนั้นการที่เราจะซื้อขายหุ้น เราต้องมองว่าเราจะเล่นหุ้นในกลุ่มไหน ถ้าเราเล่นหุ้นในกลุ่มซึ่งเป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่ ปัจจัยพื้นฐานดี ส่วนใหญ่พวกนี้ต่อให้คนมาซื้อรุมกันราคาจะไม่เคลื่อนไหวมาก เช่นหุ้น 10 ตัวแรก 50 ตัวแรก ลักษณะอย่างนั้นจะเป็นหุ้นที่มีการปั่นได้ยากมาก แต่กลุ่มที่ไปเล่นหุ้นเล็กๆ ตามข่าว หรือนักลงทุนรายย่อย ผมคิดว่าเล่นแบบนี้อันตรายมาก จริงๆ ผมอยากสนับสนุนให้เล่นหุ้นกลุ่มใหญ่ ถ้าไปเล่นหุ้นกลุ่มเล็กก็ได้แต่จะต้องระวังให้มาก อย่าไปเล่นตามแห่ อย่าไปเล่นตามข้อมูลที่ฟังมาอย่างเดียว ถ้าจะเล่นหุ้นกลุ่มเล็กผมอยากแนะนำให้เล่นผ่านกระบวนการจัดการโดยมีผู้จัดการในลักษณะลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งเขาลงทุนกระจาย แล้วจะมีหุ้นกลุ่มใหญ่บ้างเล็กบ้าง แต่ถ้ากังวลเกี่ยวกับการปั่นหุ้นหรือการเข้าไปสร้างราคา ก็อยากแนะให้เน้นเฉพาะหุ้นกลุ่มใหญ่ๆ จะไม่มีความเสี่ยง

ไฮคลาส : แล้วมาตรการเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นเพื่อต้องการให้ลดปัญหาทางเศรษฐกิจ ผลกระทบที่จะมาสู่ตลาดทุนจะเป็นอย่างไร

ขณะที่ผมให้สัมภาษณ์อยู่นี้ กำลังมีการเถียงกันอยู่ว่าควรจะขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ แน่นอนว่าถ้าหากขึ้นดอกเบี้ย ผลกระทบต่อตลาดทุนจะเป็นไปในทางลบ เพราะจะเพิ่มต้นทุนของคนค้าขายหุ้น และจะไปเพิ่มต้นทุนให้กับบริษัทที่อยู่ในตลาด กำไรเขาจะลดลงนิดหน่อย แต่ถามว่ามากไหมอาจจะไม่มาก ถ้าขึ้นดอกเบี้ยแต่ขณะเดียวกันปัจจัยอื่นเป็นบวก เช่นราคาน้ำมันอาจจะเริ่มลดลง หรือการเมืองเกิดความชัดเจนมากขึ้น จะทำให้การปรับดอกเบี้ยเป็นเรื่องเล็กน้อยไป ดังนั้นการปรับขึ้นดอกเบี้ยก็ต้องยอมรับว่า ต้องกระทบต่อตลาดทุนไม่มากก็น้อย แต่ไม่ใช่ปัจจัยใหญ่

ไฮคลาส : ความรับผิดชอบในหน้าที่การงานล้นมือ แต่คุณยังดูหนุ่ม แสดงว่าต้องเป็นคนที่ดูแลบุคลิกรูปร่างตัวเองอย่างดี

(หัวเราะ) ด้านการดูแลตัวเอง ผมคิดว่าปัจจัยหลักที่สุดเลยคือจิตใจ ถ้าเรามีจิตใจที่ไม่คอยแต่จะประสงค์ร้าย โกรธง่าย หรือมีความแค้น จิตใจของเราอยู่ในลักษณะบวก ผมว่าช่วยได้เยอะ ภาพลักษณ์ที่คนภายนอกมองเห็นเราก็จะมีความรู้สึกสบายใจ

ไฮคลาส : จากภายนอกผมว่าคุณน่าจะอายุ 51-52

ผมน่ะ 57 แล้ว ไม่ได้ใช้เครื่องสำอางอะไรเลย เท่าที่มีก็ผลิตภัณฑ์ของพี่สาว (ภารดี ภูวนาถนรานุบาล) เอามาใช้ แต่กุญแจสำคัญอยู่ที่จิตใจ

ไฮคลาส : สิ่งหนึ่งที่ช่วยกล่อมเกลาจิตใจของคุณคือหนังสือหรือเปล่า เห็นห้องทำงานคุณมีหนังสือเยอะ หนึ่งในนั้นคือชุดหนังสือสามก๊กด้วย อยากทราบว่าอ่านจบไปแล้วกี่รอบ

ผมอ่านจบแค่รอบเดียวเอง (เน้นเสียงพร้อมหัวเราะ) อ่านแล้วและลืมบ้างแล้ว ที่ตลกมากก็คือคนส่วนใหญ่มักมีความรู้สึกว่าขบวนการในสามก๊กอย่างขงเบ้ง จูล่ง ฯลฯ ออกแรงหนักมากเพื่อดูแลเล่าปี่ สุดท้ายแล้วรุ่นลูกเล่าปี่ห่วยมาก นี่คือข้อคิดที่จำได้ อ่านแล้วเหนื่อยใจแทนเลยว่าเขาสู้เพื่อเล่าปี่สารพัด แล้วยังจะต้องปกป้องลูกเล่าปี่ เสียเลือดเสียเนื้อไปมากมาย...สุดท้ายก็เห็นได้ชัดว่ามันไม่เอาไหนเลย

***โค้ดคำ***

“ความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกผมคิดว่าปีนี้ยังไม่เสี่ยงเต็มที่ ความเสี่ยงจะเกิดมากขึ้นในปีหน้า 2552 และอาจจะต่อเนื่องไปถึงปี 2553”

“โอกาสที่จะเห็นได้ชัดในเชิงธุรกิจจากนี้ไปคือธุรกิจซึ่งช่วยในการประหยัดพลังงาน ธุรกิจที่ช่วยในการรีไซเคิลวัตถุต่างๆ”

“ถ้าเรามีจิตใจที่ไม่คอยแต่จะประสงค์ร้าย โกรธง่าย หรือมีความแค้น จิตใจของเราอยู่ในลักษณะบวก ผมว่าช่วยได้เยอะ”

สัมภาษณ์พิเศษ : "ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล" มุมมองที่เปิดกว้างในการกำกับและพัฒนาตลาดทุนไทย

ต้องยอมรับว่า ช่วง 1-2 ปีจากนี้ถือว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านสำหรับตลาดทุนไทยไปสู่การเปิดเสรีใบอนุญาตในปี 2555 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ถือเป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทในการผลักดันตลาดทุนไทยไปสู่การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ท่ามกลางกระแสการพัฒนาและปรับตัวของตลาดทุนทั่วโลก เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายของเงินทุนหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเริ่มตั้งแต่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ลุกลามมาถึงวิกฤตการเงินยุโรป ตลาดทุนในย่านอาเซียนเองก็ต้องปรับตัวให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์โลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงเช่นกัน วันนี้ Special Interviews มีโอกาสได้พูดคุยกับ "คุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล" เลขาธิการ ก.ล.ต. และ "คุณทิพยสุดา ถาวรามร" ผู้ช่วย เลขาธิการ ก.ล.ต.ซึ่งเป็นแรงสำคัญในการผลักดันให้เกิดการรวมตัวกันของตลาดทุนในกลุ่มอาเซียน ภายใต้ “Asian Exchange Linkage”


*** กลต. มีการวางกรอบของการพัฒนาตลาดทุนไทยอย่างไรบ้าง


คุณธีระชัย : การพัฒนาตลาดทุนไทย จะมองเฉพาะตลาดหุ้นอย่างเดียวคงไม่ได้ มันจำเป็นจะต้องมีตลาดอื่นที่จะเข้ามาเสริมทัพด้วย เช่นตลาดอนุพันธ์ที่จะทำให้เห็นการโตและความหลากหลายของสินค้ามากขึ้น รวมถึงตลาดตราสารหนี้ของไทยก็ต้องเห็นการขยายตัวที่มากขึ้นกว่านี้อีกมาก ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่เราต้องหาทางพัฒนา แม้แต่ตลาดหลักทรัพย์ก็ยังคงมีปัญหา โดยเฉพาะกรณีบริษัทรัฐวิสาหกิจที่จะเข้ามาเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เกิดความล่าช้า ซึ่งคงเป็นเรื่องที่ตลาดหลักทรัพย์จะต้องพิจารณาว่าจะต้องปรับตัวอย่างไร จึงจะอยู่ในสายตาของนักลงทุนต่างประเทศในอนาคต โดยปัญหาหลักที่ยังคงเกิดขึ้นกับตลาดหลักทรัพย์ไทยขณะนี้ คือนักลงทุนส่วนใหญ่ยังเป็นรายย่อย ดังนั้นต้องคำนึงว่าจะต้องปรับตัวอย่างไรที่จะทำให้สัดส่วนนักลงทุนสถาบันเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นโจทย์สำคัญที่เราจะเดินหน้าปรับกันต่อไป

คุณวิชุดา : ส่วนตัวมองว่าการทำตัวไม่ให้ตกกระแสจากความสนใจของนักลงทุนต่างชาติ คงจะต้องพัฒนาร่วมกัน ซึ่งถ้ามาดูตลาดหุ้นในแถบอาเซียนคงเป็นตลาดที่มีขนาดเล็ก ๆ อาจจะไม่มีคนสนใจ แต่ถ้ามารวมตัวกันจะกลายเป็นที่ 15 ของโลก จริงๆก็เคยมีแนวคิดที่ว่าควรมารวมกันในอาเซียนหรือผนึกกำลังกันเพื่อต่อสู้กับภูมิภาคอื่นในโลกนี้ให้ได้ ซึ่งจะเป็นการรวมตัวกันเพื่อที่จะอยู่รอดหรือให้ดีขึ้น แทนที่จะต่างคนต่างทำควรจะเกาะกลุ่มไว้ ซึ่งก็เป็นความจำเป็นอีกอันที่ทำให้เกิดแนวคิดเรื่องการเปิดการเชื่อมโยง

***การรวมตัวกันภายในกลุ่มอาเซียนขณะนี้มีพร้อมมากแค่ไหน

คุณธีระชัย : เรื่องของการรวมกัน ก.ล.ต. ภายในอาเซียนเราได้มีการประชุมร่วมกันอยู่แล้วทุก 6 เดือน และก็ได้นำเสนอแผนไปให้แก่รัฐมนตรีคลังอาเซียน ซึ่งล่าสุดเสนอไปตั้งแต่เมื่อเดือนเมษายนปีที่ 2552 เรามีการทำแผนเพื่อที่จะมีการเชื่อมโยงตลาดทุนของอาเซียนเข้าด้วยกันให้ผนึกกำลังได้มากขึ้น แผนอันนั้นตอนที่เสนอไป ท่านรัฐมนตรีกรณ์ (นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง )เป็นประธานของรัฐมนตรีคลังอาเซียนในขณะนั้น ก็เห็นชอบ คณะที่ประชุมอาเซียนก็เห็นชอบที่จะให้เดินหน้าตามแผน ที่พร้อมจะเปิดให้มีการเชื่อมต่อตลาดหุ้นในอาเซียน โดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า Common Gate Way คือ นักลงทุนต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนสถาบันในต่างประเทศ ต่อไปจะเข้ามาในตลาดอาเซียน ก็จะเข้ามาเป็นประตูเดียวในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหลังจากนั้นนักลงทุนจะเลือกเข้าไปลงทุนยังตลาดหลักทรัพย์ประเทศใดในกลุ่มสมาชิกก็สามารถทำได้คล่องตัวมากขึ้น ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเคยทำขึ้นในประเทศแถบนอร์ดิกส์ คือ ประเทศสวีเดน เดนมาร์ค ปรากฏว่า ทำแล้วได้ผลดี นักลงทุนระดับสากลก็สามารถมีโอกาสที่จะเข้ามาลงทุนได้สะดวกขึ้น ขณะที่การเชื่อมโยงจะใช้คำว่า “Asian Exchange Linkage”

***ความคืบหน้าของการรวมตัวกันในกลุ่มอาเซียนไปถึงไหน แล้วพบปัญหาหรือจุดบกพร่องตรงไหนบ้างหรือไม่

คุณธีระชัย : เวลานี้ได้เดินหน้าแล้วโดยตลาดหุ้นหลักๆ ประมาณ 6 ตลาดของประเทศใหญ่ ซึ่งถือเป็นความร่วมมือที่ดี แต่ก็มีปัญหาบ้างจากการที่ตลาดหุ้นในบางประเทศอาจจะต้องใช้เวลาที่จะแก้ไขกฎระเบียบบางอย่างหรือกฎหมายภายใน ถ้าทำได้ตามกรอบระยะเวลา จะทำให้นักลงทุนต่างประเทศมองสินค้าทางการเงินภายในอาเซียนลักษณะของสินค้า “asset class” จากเดิมเขาอาจจะไม่คำนึงหรืออาจจะนึกถึงเป็นรายประเทศเดี่ยวๆ แต่ตอนนี้ต่างชาติจะมองเป็น Class จะทำให้ทุกๆ ประเทศขึ้นมาอยู่ในระดับเดียวกัน และทำให้เกิดความสะดวกในการที่จะเข้ามาลงทุน

อย่างไรก็ตาม เราควรมองให้รอบคอบซึ่งยังคงมีอีกมิติหนึ่ง คือการที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจใหญ่ในครั้งนี้ ทำให้มีหลายฝ่ายวิเคราะห์กันว่ามันจะเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในระดับสากล ซึ่งหากมองไปข้างหน้า 10 ปี จะเห็นว่าตลาดทุนในประเทศเดิม ๆ ที่จะต้องเป็นชั้นนำหรือในอเมริกา และยุโรปจะเริ่มมีความแข็งแกร่งลดลง ดังนั้นจึงกลายเป็นจังหวะที่ตลาดทุนของประเทศอื่นในโลกจะแทรกตัวออกมาและมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้น ซึ่งถ้าเราจัดขบวนการให้ตลาดอาเซียนเพื่อให้เกิดความแข็งแกร่งผนึกกำลังกันอาจจะเป็นจังหวะที่ดีที่แทรกตัวขึ้นมาและมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้น ตัวอย่างที่มีก็คือ ยุโรปที่มีการเชื่อมโยงและเวลานี้มีการเชื่อมโยงมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกส่วน ทั้งการใช้ Plat form ในการค้าขาย ส่วนของ Front Room และรวมถึงระบบการชำระเงิน ชำระหลักทรัพย์ที่เรียกว่า “Back Room” ในอาเซียนเราก็พยายามตามยุโรปโดยเฉพาะการควบคุมต้นทุนให้ต่ำลง

คุณวิชุดา : ส่วนความคืบหน้าของ “Exchange Linkage” ทางตลาดหลักทรัพย์ก็จะมี Working Group ร่วมกันในกลุ่มตลาดหลักทรัพย์อาเซียน ล่าสุด ก็มีการเซ็นสัญญาเลือก 2 ตลาดแรกคิดว่าเหมาะสมแล้วคือ ไทยกับมาเลเซียจะเป็นคู่แรกที่จะรวมตัวกันในต้นปี 2554 แล้วในปีเดียวกันนี้สิงคโปร์ก็ตามมา ก่อนที่ในปี 2555 ฟิลิปปินส์จะเข้ามาร่วมด้วย ส่วนเวียดนามกับมาเลเซียตอนนี้ก็พยายามลุ้นให้เข้ามาร่วมกันตามกำหนด ซึ่งเขาอยู่ในกระบวนการแก้ไขกฎหมาย โดยเป้าหมายแรกภายในปีนี้ก็มี ETF ของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนมารวมกัน เช่น ETF ในมาเลยเซียมา List ที่ไทย ในทางกลับกันก็ให้ ETF ของเราไป list ที่อื่นได้

*** การรวมกลุ่มกันในอาเซียนที่เรียกว่า Asian Exchange Linkage จะช่วยเอื้อประโยชน์ให้แก่นักลงทุนสถาบันหรือรายย่อยอย่างไร

คุณวิชุดา : ที่จริงจะได้ประโยชน์ในทุกกลุ่มทั้งสถาบันและรายย่อย แต่ส่วนใหญ่กลุ่มสถาบันน่าจะได้รับประโยชน์มากกว่า เช่น Global Fund Manager อาจจะนั่งอยู่มุมเดียวก็สามารถมองเข้ามาเห็นตลาดอาเซียน มองจอเดียวก็มองเห็นของทั้งอาเซียนได้เลย จะสะดุดตามากขึ้น มากกว่าที่จะมานั่งมองจ้อง 5 Screen 6 Screen ขณะที่นักลงทุนรายย่อยอาจจะนั่งอยู่บ้านซื้อหุ้นที่สิงคโปร์หรือมาเลเซียตามวงเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)อนุญาต ซึ่งจะทำให้ส่งคำสั่งจากที่บ้านได้เลยแทนที่จะส่งโบรกเกอร์ให้ไปติดต่อโบรกเกอร์ในมาเลเซีย

***มีทีมศึกษาในแง่ของความได้เปรียบเสียเปรียบหรือไม่ หากเกิดการรวมตัวกันในกลุ่มอาเซียน

คุณธีระชัย : อันนี้ถือเป็นจุดที่ทุกคนในไทยที่ทำธุรกิจหลักทรัพย์รวมตัวกันที่จะศึกษา ซึ่งต้องเข้าใจว่า ย่อมมีผู้ที่ได้เปรียบเสียเปรียบ ซึ่งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นไม่ใช่แค่บริษัทโบรกเกอร์แต่อาจลามไปถึงบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และแม้แต่ตัวตลาดหลักทรัพย์เองหรือพวกที่ค้าขายตลาดตราสารหนี้และแม้กระทั้งตลาด Futures ก็มีทั้งที่ได้เปรียบและเสียเปรียบเป็นธรรมดา เพราะการเปิดให้มีการเชื่อมโยงมากขึ้นก็หมายถึงจะทำให้การแข่งขันเข้มข้นมากขึ้นตามไปด้วย แต่ว่าโชคดีที่ตลาดหลักทรัพย์เราได้รับการปกป้องจากกระแสพายุครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นนอกบริเวณ ซึ่งเรามีระบบบริหารอัตราแลกเปลี่ยน(Exchange Control) ทำให้คนไทยนำเงินออกไปลงทุนนอกประเทศได้น้อย

ขณะเดียวกันสินค้าในประเทศเราก็ยังไม่หลากหลายพอ ที่จะทำให้นักลงทุนเอาเงินโยกไปโยกมาได้อย่างเต็มที่ แต่ในอนาคตกำลังจะเปลี่ยนไปหากเกิดการรวมกัน ซึ่งแต่ละประเทศในอาเซียนก็มีความจำเป็นต้องลด Exchange Control หากเงินไหลมากขึ้นก็ต้องปล่อยให้เป็นไป ไม่อย่างนั้นอาจมีผลกระทบต่อค่าเงินบาทให้แข็งค่าขึ้นได้ เหมือนกับการที่เราปิดกั้นไม่ให้ลมจากต่างแดนเข้ามา และผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาให้หลากหลายมากขึ้นเก็งกำไรได้มากขึ้น ซึ่งเราต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกนำไปสู่การแข่งขัน โดยเราต้องวางแผนแต่เนิ่น ๆ ว่าในส่วนไหนที่เราได้เปรียบก็ต้องเตรียมรุกเต็มที่ ส่วนไหนที่เสียเปรียบเราต้องเตรียมหามาตรการที่จะปรับตัว แต่นี้ไม่ใช่หน้าที่ของก.ล.ต. เพราะเราไม่ใช่นักธุรกิจ เราก็ไม่สามารถมองได้ เพียงแต่เราถอยออกมาในเรื่องของกฎระเบียบทำให้ทุกอย่างมันง่ายและคล่องขึ้นที่เราจะปรับตัว ใครจะปรับหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนคิด

คุณวิชุดา: อีกทางหนึ่งผู้ลงทุนกับผู้ระดมทุนจะเป็นคนที่ได้ประโยชน์ ในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์จะเห็นการแข่งขันที่จะมาระดมทุน เนื่องจากผู้ระดมทุนไทยจะมีทางเลือกมากขึ้น โดยจะเลือกไปตลาดที่ให้ราคาดีกว่าและผู้ลงทุนเองก็มีทางเลือกมากขึ้นและกระจายความเสี่ยงมากขึ้น

***หมายถึงว่าการวางนโยบายเราควรมองจุดได้เปรียบเสียเปรียบของบุคคลในทุกกลุ่ม

คุณธีระชัย :ใช่ ประเด็นหลักหมายความว่าในการวางนโยบายเราจะมาคิดถึงว่าใครจะได้ประโยชน์ใครจะเสียประโยชน์ ดูเฉพาะนักธุรกิจไม่ได้ เราต้องถอยมาและดูโดยรวม ดูทั้งผู้ออมและบริษัทจดทะเบียนที่ระดมทุน ไม่ใช่ดูเฉพาะโบรกเกอร์ ตลาดหลักทรัพย์ หรือ Futures

***มองผลกระทบที่เกิดจากการเปิดเสรีธุรกิจหลักทรัพย์ อย่างไร สภาพตลาดจะมีแนวโน้มไปในทิศทางใดภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต.

คุณธีระชัย : การที่ทำให้ตลาดไทยแข่งขันกันคนอื่นได้ วิธีที่ดีที่สุดคือทำให้ต้นทุนในการทำธุรกิจเปรียบเทียบกันคนอื่นไม่แพงจนเกินไป วิธีทำให้ไม่แพงเกินไปคือให้เกิดการแข่งขันเสรี เช่นการแข่งขันในแง่กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมไม่ให้แพงเกินไป แข่งขันในการหาสินค้าใหม่ สินค้าบริการที่ดีขึ้น เพราะฉะนั้นแนวนโยบายที่เปิดให้มีการแข่งขันเสรี ทั้งการให้ใบอนุญาต ที่มีการกำหนดอัตราค่าคอมมิชชั่นขั้นบันไดจะช่วยควบคุมได้ แต่การดำเนินการก็เป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเราประกาศเรื่องนี้มาประมาณ 3 ปีแล้ว ให้เวลาล่วงหน้าในการคิด การอ่านที่เตรียมตัวแก้ไขเรื่องต่าง ๆ การประกาศล่วงหน้า 5 ปี เราก็ให้เวลาวางแผนแก้ไขพอสมควร เรื่องการเปิดเสรีให้มีการกระตุ้นการแข่งขันยังเป็นองค์ประกอบหลักของแผนอนาคต

***ระเบียบต่างๆ เตรียมพร้อมสำหรับการเปิดเสรีแล้วหรือยัง

คุณธีระชัย : การที่เราบอกว่า เราเปิดเสรีใบอนุญาตจะทำให้เกิดการแข่งขันกันขึ้นมาก สิ่งที่เราพยายามให้สัญญาณไปว่า นักธุรกิจทั้งหลายใครคิดอะไรได้ แล้วคิดว่าจะเกิดธุรกิจใหม่ ถนนจะขยาย รถก็จะวิ่งได้คล่องตัวขึ้น มาคุยได้เลย ก.ล.ต.พร้อมที่จะแก้ไขกฎระเบียบ อะไรเป็นอุปสรรคเราก็พยายามถอยออกมา อะไรที่ต้องแก้ไขพร้อมที่จะช่วยส่งเสริมเราก็พร้อมที่จะทำ ซึ่งระบบนี้เรากำลังประสานทั้งตลาดหลักทรัพย์และโบรกเกอร์ทั้งหลาย รวมทั้ง บลจ. ทุกครั้งที่เราประชุมกับทางสมาคม บล.เราพยายามจะสื่อสารประเด็นนี้ออกไป

***กฎระเบียบพวกนี้มีการเกี่ยวข้องกับค่า license ไหม

คุณวิชุดา : ค่าใบอนุญาตเราก็แก้ไขไปพร้อมกฎกระทรวงให้มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2555 จริงๆ เราออกกฎกระทรวงมาตั้งแต่ปี 2550 หรือ 2551 ซึ่งเป็นกฎที่เปิดให้บริษัททำธุรกิจครบวงจร ซึ่งของเดิมต้องมาขอทีละใบ ก็นำใบอนุญาตต่างๆมารวมกันในใบเดียว และบริษัทหลักทรัพย์ในปัจจุบันสามารถที่จะมาอัพเกรดใบของตัวเองอันเดิมให้เป็น Full license ครบวงจรได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่ม เพราะเขามีใบอนุญาตอยู่แล้ว แต่พอปี 2555 เราจะเปิดให้รายใหม่มาขอใบอนุญาตได้ด้วย และก็จะมีค่าใบอนุญาตของธุรกิจประเภทนี้กำหนดไว้ที่ 20 ล้านบาท ซึ่งก็ถือว่าลดลงมามากจากเดิมที่สมัยก่อนใบอนุญาต คือ 100 ล้านบาท

***ทาง ก.ล.ต.มีเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์อย่างไร

คุณวิชุดา : เกณฑ์จริงๆ แล้วจะเข้มขึ้น คือเมื่อพูดถึงเปิดเสรี เรามองถึงการแข่งขัน เราเปิดให้ถนนวิ่ง แต่ว่าเราไม่ได้บอกว่าเราจะหย่อนยานการกำกับดูแลความเสี่ยง เพราะเราก็รู้ว่าเปิดพวกนี้มันก็มีความเสี่ยงมาด้วย เราก็ติดตามความเสี่ยงของโลกว่าเขาพัฒนาไปถึงไหน มีอะไรที่เป็นข้อบกพร่องที่เป็นความเสี่ยงอยู่ เราก็ติดตามไม่แพ้กัน ถือว่ากฎเกณฑ์ของเราก็ได้มาตรฐาน แต่ส่วนที่เราต้องพยายามทำให้ได้ เช่น ตลาดหลักทรัพย์ต้องเผชิญกับการแข่งขันว่าจะทำเชื่อมโยงตลาดกับตลาดหุ้นอื่น คนก็จะไปซื้อสินค้าในตลาดอื่นได้ง่ายขึ้น แล้วจะมีหน่วยงานขึ้นมากำกับดูแลอีกอันไหม เพราะตลาดหลักทรัพย์ฯ กำลังเข้าสู่กระบวนการแปรรูป ดังนั้นต้องมีคนที่จะมาดูแลเป็นคนกลางของตลาดไหม

ซึ่งเดิมก.ล.ต.เป็นคนดูแลอยู่แล้ว โบรกเกอร์เราก็กำกับโบรกเกอร์โดยตรง ในส่วนหนึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯเขาก็กำกับเฉพาะพฤติกรรมการเข้าถึง ระบบซื้อขายของเขามากกว่า แต่ว่าเมื่อมีการแปรสภาพตลาดไปเป็นบริษัท แล้วเอามาจดทะเบียน เราคงไม่ยอมให้ตลาดหลักทรัพย์ดูแลการ list หุ้นของตัวเอง เราคงเอามาดู แต่ว่างานหลักปัจจุบันที่กำกับบริษัทหลักทรัพย์ ก.ล.ต.ก็ประกาศอยู่แล้วค่อนข้างมาก ซึ่งอาจจะต่างกับตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ที่เขามีหน้าที่เป็น HRO เยอะกว่าตลาดบ้านเรา เป็นคนกำกับดูแลสมาชิกมากกว่าที่ตลาดหลักทรัพย์ฯทำ

****ก.ล.ต.เกี่ยวข้องกับการแปรรูปของตลาดต้องไปกำกับดูแลส่วนไหนบ้าง

คุณวิชุดา : ตามร่างกฎหมายที่เสนอกัน จะมีคณะกรรมการแปรสภาพ ซึ่ง ก.ล.ต.ไม่ได้เป็นส่วนใหญ่ในนั้น องค์ประกอบส่วนหนึ่งมาจาก ก.ล.ต. ส่วนหนึ่งมาจากตลาดหลักทรัพย์ฯแล้วคณะกรรมการในนั้นจะเป็นผู้ตัดสินใจเสนอแผนมาให้คณะกรรมการก.ล.ต.ดู ก่อนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี พิจารณาอีกทีหนึ่ง

ส่วนทรัพย์สินของตลาดหรือหนี้สินของตลาด ส่วนไหนจะไปอยู่กับตัวตลาดหลักทรัพย์ ส่วนไหนควรจะแยกไปอยู่ในกองทุนเพื่อการพัฒนาตลาดทุน คือการแบ่งแยกทรัพย์สิน ควรจะจัดสรรหุ้นกันอย่างไร คือจะมีคณะกรรมการขึ้นมาเสนอแผนอีกครั้ง เดิมกฎหมายกำหนดไว้ประมาณ 180 วัน เดี๋ยวนี้ลดลงมาเยอะแล้ว จากการที่คุยกับกระทรวงการคลัง เวลานี้ยังไม่ได้ข้อสรุปสุดท้ายแต่ว่าจะส่งมาให้คณะกรรมการก.ล.ต.พิจารณาอีกครั้ง แล้วก็ส่งต่อไปให้คณะรัฐมนตรีเป็นคนตัดสินใจสุดท้าย ก.ล.ต.ก็จะมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการในช่วงของการแปรสภาพ

***อะไรคือเหตุผลที่แปรสภาพตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

คุณธีระชัย : เราก็ต้องเข้าใจก่อนว่า ตลาดหลักทรัพย์มีมาก่อนออกกฎหมายหลักทรัพย์ แล้วพอมีการออกกฎหมายหลักทรัพย์ ได้เขียนในกฎหมายว่า การทำธุรกิจ ตลาดหลักทรัพย์ห้ามมีคนอื่นเข้ามาแข่ง คือให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นคนทำธุรกิจนี้เพียงผู้เดียว ปัจจุบันนี้ประเทศที่ตลาดหลักทรัพย์ไร้คู่แข่งเหลือน้อยมาก อาจจะระยะแรกที่อยากให้ตลาดหลักทรัพย์ไม่มีคู่แข่ง แต่พอไปถึงจุดหนึ่ง แล้วก็จะต้องกลับมาถามว่าประเทศจะได้ประโยชน์อะไร จากการที่ตลาดไม่มีคู่แข่ง หรือการที่ตลาดมีคู่แข่ง และอย่างไหนจะได้ประโยชน์มากกว่ากัน ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่งทุกประเทศต้องการให้ตลาดหลักทรัพย์ของตนมีคู่แข่ง นี่คือจุดเริ่มต้นจึงต้องไปแก้กฎหมาย เพื่อที่จะให้เกิดการเข้ามาแข่งขัน

ขณะที่การแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น พอเรายกเลิกระเบียบของการปริวรรตทำให้คนไทยไปลงทุนต่างประเทศโดยตรงมากขึ้นซึ่งเขาอาจจะไปซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อื่นแทนที่จะซื้อในตลาดหลักทรัพย์ไทย เพราะฉะนั้นผมคิดว่าการแข่งขันมันจะทำให้มีการปรับตัวในลักษณะที่ดี มีประสิทธิภาพมากขึ้น

***ก.ล.ต.มีส่วนผลักดันนวัตกรรมใหม่ๆอย่างไรบ้าง

คุณธีระชัย : อันดับแรก เราก็พยายามจะสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้คิดอะไรใหม่ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทสำคัญที่สุดก็คือ ตลาดหลักทรัพย์ หน่วยงานที่มีบทบาทรองมาคือบริษัทโบรกเกอร์ บริษัทจัดการกองทุนรวม หน่วยงานใดก็ตามเวลามีไอเดียใหม่ๆ หรือนวัตกรรมอะไรใหม่ๆ มาคุยกับเราได้เลย เราพร้อมที่จะพิจารณาแก้ไขกฎระเบียบหากเห็นว่าส่งผลดี แต่ก็ต้องยอมรับว่าบางครั้งมีความจำเป็นจะต้องขอความเห็นชอบไปถึงระดับคณะรัฐมนตรี

อีกทั้งสินค้าใหม่อาจมีความซับซ้อนในเรื่องภาษีซึ่งถือเป็นเรื่องที่ต้องมาพิจารณา ซึ่งเราก็ต้องพยายามประสานงานที่จะหาทางเคลียร์เรื่องเหล่านี้แต่ผมก็ยังคงมองว่าเวลานี้เราอยู่ในแนวความคิดที่ทุกคนพร้อมให้การสนับสนุนเรื่องนวัตกรรมใหม่ๆ

***อยากให้ขยายความถึงมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนในลักษณะ class action

คุณธีระชัย :ในต่างประเทศจะมีแนวอย่างนี้ว่าผู้ถือหุ้นรายย่อย เวลาเขามีความรู้สึกว่าบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารบริษัท ทำให้เขาได้รับความเสียหาย เขาก็จะต้องฟ้อง คือเวลานี้ ถ้าหากผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหาย หรือคิดว่าตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งในต่างประเทศเวลาเขาได้รับความเสียหายเขาต้องการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ แต่ในประเทศไทยการที่มาฟ้องร้อง ก.ล.ต. ไม่ได้รับค่าเสียหาย ทำได้เพียงลงโทษกันไป ก็อาจเป็นการทำให้หลาบจำ

ขณะที่อีกหนึ่งปัญหาคือ เวลาผู้ถือหุ้นรายย่อยฟ้องเรียกค่าเสียหาย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีสูงมาก เพราะว่าต้องใช้นักกฎหมายที่มีความรู้ในทางเรื่องธุรกิจที่กว้างขวางที่ลึกซึ้ง ซึ่งค่าใช้จ่ายตรงนี้ค่อนข้างจะแพง เพราะฉะนั้นต่างประเทศเขาก็จะเปิดให้ใช้ลักษณะที่เรียกว่า class action ก็คือว่า ผู้ถือหุ้นใครสักคนที่มีไอเดียก็ไปเรียกทนายความ พอจะเห็นแนวแล้วเริ่มดำเนินได้ก็จะไปเรียกผู้ถือหุ้นรายอื่น ที่อยู่ในสภาวะเดียวกัน แล้วก็เข้ามาร่วมแชร์ค่าใช้จ่าย และเมื่อชนะคดีได้รับเงินค่าเสียหายกลับคืนมาก็มาแบ่งกัน เพราะฉะนั้นในเวลานี้เมืองไทยเรากำลังจะออกกฎหมายในส่วนนี้ออกมา ซึ่งที่ผ่านมาได้เสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเขามองว่าเป็นแนวคิดที่ดี และอยากจะนำไปปรับใช้กับส่วนอื่นด้วยไม่ใช่แค่กับตลาดทุน ซึ่งผมจำเป็นต้องนำกลับมาพิจารณาให้สามารถใช้ได้กว้างมากขึ้น ดังนั้น จึงต้องใช้ระยะเวลาในการร่างก่อนซึ่งขณะนี้ยังไม่เสร็จเลย

***หน้าที่ในการกำกับดูแล ก.ล.ต.โฟกัสตรงจุดไหน

คุณธีระชัย : อันนี้พูดง่ายๆ ว่า ก.ล.ต. หน้าที่ก็คือว่า กำกับให้การทำธุรกิจในตลาดทุนมันมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีความเป็นธรรม สิ่งที่เราทำมันไม่ใช่เรื่องของความผิดทางกฎหมายอาญาทั่วไป มันเป็นเรื่องของการทำธุรกิจ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ทาง ก.ล.ต.ออก ก็คือว่าออกกฎระเบียบเพื่อกำกับกระบวนการในการทำธุรกิจ การออกกฎระเบียบ ถ้าคุ้มครองมากไป มันก็ไปสร้างภาระค่าใช้จ่าย ให้แก่ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง หลายประเทศเขาก็จะระมัดระวังเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นการวางกฎระเบียบต่างๆ ต้องมีการคำนวณถึงค่าใช้จ่ายแล้วก็ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ขณะนี้เรากำลังจะเอามาใช้ให้มากขึ้นโดยเราควรจะกำกับดูแลในลักษณะที่พอดี ไม่ไปสร้างค่าใช้จ่ายและภาระให้กับคนที่เกี่ยวข้องมากเกินไป แต่ก็ทำให้คนที่เกี่ยวข้องมีการได้รับความคุ้มครองที่ดีระดับหนึ่ง

***สิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการให้ตลาดทุนไทยเป็นแหล่งระดมทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

คุณธีระชัย : วิธีป้องกันก็คือว่า เราพยายามที่จะคิดล่วงหน้าให้มากที่สุด ไปไกลที่สุดเท่าที่เราสามารถคิดได้ว่า กรณีอย่างนี้ ถ้ามันเกิดกรณีที่เลวร้ายที่สุดขึ้นมาจะมีผลเป็นอย่างไร แล้วก็พยายามออกกฎระเบียบไว้ล่วงหน้าไม่ใช่ว่าเมื่อมีปัญหาแล้วจึงมาออกกฎ เพราะจะยิ่งเป็นการซ้ำเติม ซึ่งเราก็ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับตลาดทุนขึ้นมา ปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญที่เคยทำงานภาคเอกชนมานั่งอยู่ในคณะกรรมการชุดดังกล่าว 3 ราย โดยบทบาทหน้าที่ คือ มองไปข้างหน้า ไม่จำเป็นจะต้องไปออกกฎระเบียบในช่วงเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

คุณวิชุดา : บางทีออกไว้ก่อนก็หลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้ อย่างเช่น ตลาดฟิวเจอร์ส ที่กลไกอยู่ที่ลูกค้าต้องมีหลักประกันวาง ถ้าเผื่อขาดทุน เราต้องบังคับวางเพิ่ม cut loss ไม่งั้นจะสะสมความเสี่ยงไว้ในระบบ ซึ่งขบวนการดังกล่าวอาจมีส่วนทำให้ตลาดหุ้นตกได้ ตัวอย่างมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย มีเกณฑ์ให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีฐานะทางการเงินที่ดีให้กันสำรองไว้เยอะๆ พอถึงเวลาที่เกิดวิกฤตจะไม่ต้องเดือดร้อน อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า การวางกฎตลาดทุนเป็นเรื่องที่คาดการณ์ยากเหมือนกัน เพราะทุกอย่างมันต้อง Mark to Market ที่มีการพูดถึงในอาเซียน ถ้าเป็นประเทศอื่นในช่วงขาลงก็ยังระดมทุนได้ แต่เมืองไทยขาลงระดมทุนไม่ได้ ซึ่งถือเป็นจุดที่ต้องคิดอีกแง่มุมหนึ่ง เมืองไทยตลาดมัน One Way พอเวลาทุกคนเห็นดีงาม ก็จะดีงามพร้อมกันหมด พอเวลาทุกคนเห็นมันไม่ได้เรื่องก็กลายเป็นไม่ดี และถึงตอนนั้นใครอยากจะลงทุน จะเข้ามาหาอะไรจากระบบนี้ยาก

***เราจะแก้ปมตลาด One Way ได้อย่างไร

คุณวิชุดา : ตรงนี้แก้ได้โดยการมีโปรดักส์ มีสินค้าหรือมีขบวนการค้าขายที่ทำให้คนสามารถเห็นแย้งมันจะง่ายขึ้น เช่น ถ้าหากจะเปิดให้ short ในเรื่องโน้นเรื่องนี้ ได้ง่ายขึ้น ในเวลานี้เรามีแล้วตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้า ที่ถ้าใครเล็งว่าราคาจะตกก็สามารถที่จะขายล่วงหน้าออกไปได้ อันนี้ถ้ายิ่งมีมาก ก็ยิ่งเห็นตลาดสองทาง ที่คอยจะสู้กันอยู่เสมอได้ง่ายขึ้น อันนี้เป็นหน้าที่ของเรา ก็จะพยายามทำความเห็นสองทางมันเจอกันได้ง่ายขึ้น

***การเตรียมการของ ก.ล.ต. เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ทั้งทีมงาน หรือเทคโนโลยี เป็นอย่างไรบ้าง

คุณธีระชัย : ตรงนี้เป็นจุดที่สำคัญที่สุดของเรา เรามีความจำเป็นจะต้องคุมค่าใช้จ่ายให้มันไม่มากเกินไป ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันเราก็จำเป็นจะต้องมีพนักงานที่เข้าใจในเนื้อเรื่องในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลก เพราะฉะนั้นเราถึงได้จัดโปรแกรมที่เราเรียกว่า Change เรื่อยๆ มา สักประมาณ 6 เดือนแล้ว โดยเริ่มต้นเราพยายามถามตัวเองก่อนว่า เราจะจัดทัพของเราในงานแต่ละอย่างซึ่งเราต้องถามตัวเองว่าสิ่งแรกที่เราควรดูคือตรงไหน

***มองปัญหา และอุปสรรคใดบ้างที่ทำให้ตลาดทุนไทยไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้เท่าที่ควร

คุณธีระชัย : ตลาดทุนวิ่งตามเศรษฐกิจ ต้องยอมรับว่าตลาดทุนไม่สามารถไปได้เร็วกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศได้ ตลาดทุนจะสะท้อนสภาพเศรษฐกิจของประเทศ ถ้าคนภายในประเทศเก่ง คิดอ่านอะไรเกี่ยวกับธุรกิจ มีความก้าวหน้า มีความพลิกแพลง แล้วสามารถจะแข่งกับชาวบ้านในโลกได้ดี มันสะท้อนมาที่ตลาดทุน ตลาดทุนก็จะมีบริษัท มีสินค้า มีอะไรต่างๆ มากมาย เพราะฉะนั้นโจทย์ที่จะแก้ไขตลาดทุนมันเป็นส่วนหนึ่งของการแก้กระบวนการของประเทศ ซึ่งอย่างน้อยถ้าดูในแง่ของตลาดทุนโดยรวมมันก็จะหนีไม่พ้นความพยายามปรับกระบวนการทำงานในตลาดทุน เพื่อให้บริการบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในฐานะที่เราเป็นผู้กำกับดูแลคิดว่า สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดก็คือ พยายามอย่ายืนขวางในจุดที่เราไม่ควรไปยืนขวาง ควรถอยออกมา หรือยืนหลบไปหน่อย เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงให้มีการพัฒนามีการแข่งขันกันมากขึ้น นี่คงเป็นแนวที่เราดำเนินการ ผมขอเรียนย้ำว่า ผู้กำกับก็ทำได้แค่นี้ การที่ตลาดจะเบ่งบานมันจะก้าวหน้า มันขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ที่อยู่นอกเหนือเหล่านี้

***มองธรรมาภิบาล ของบริษัทไทยเป็นอย่างไร

คุณธีระชัย : ผมว่าดีขึ้นมาก ตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งสิ่งแรกที่ทำคือหันไปเน้นในด้านธรรมาภิบาล สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ พบว่าเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับอาเซียนและระดับสากล สิ่งที่เราต้องเน้นคือในระดับล่าง ถึงแม้ว่าในระดับล่างผลกระทบอาจจะไม่มาก อาจจะไม่กระทบนักลงทุนระดับสากล แต่ว่ามันสร้างชื่อไม่ดี เพราะฉะนั้นในเวลานี้เราก็จะมีบริษัทที่เราติดตามเรียกว่าเป็นเป้าที่เราคอย ด้อมๆ มองๆ คอยส่องกล้อง คอยดูใกล้ชิดอยู่จำนวนหนึ่ง ตั้งแต่เราเริ่มดำเนินการในเรื่องนี้จริงจัง เรามีความก้าวหน้าในเรื่องธรรมาภิบาลมากขึ้น แล้วตอนที่เรามีการประเมินโดยธนาคารโลก ผลก็ออกมาดี ผมว่าเวลานี้เรื่องธรรมาภิบาลเราสบายใจเยอะ

***สุดท้ายอยากให้ฝากอะไรกับนักลงทุนไทย

คุณธีระชัย : นักลงทุนในตลาดทุนไทย จากที่ผมได้เจอนักวิเคราะห์ต่างชาติเยอะ ทำให้คิดว่า เวลานี้หลายคนมองออกเลยว่า เศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจในโลกยังอยู่ในป่า ยังมองไม่ทะลุออกมา เพราะว่าหลายประเทศมีรัฐบาลเข้าไปโอบอุ้มสถาบันการเงิน เลยทำให้มีหนี้สินเยอะ พอมีหนี้เยอะงบประมาณแต่ละปีมันกลายเป็นค่าใช้จ่าย เพื่อที่จะใช้ในงบประมาณรายจ่ายประจำ เพราะฉะนั้นความน่าสนใจสำหรับการลงทุนในตลาดทุนในประเทศเหล่านั้นในเวลานี้ลดลงไปมาก

ขณะที่เรื่องขอบเขตการพัฒนาเศรษฐกิจ ในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผมว่ายังมีศักยภาพอยู่มาก หลายคนเวลานี้มองแบบเดียวกัน ทำให้หนีไม่พ้นที่เงินทุนก็จะไหลเข้ามา นักลงทุนต่างประเทศก็จะสนใจ ผมคิดว่าในการวิเคราะห์อย่างนี้ นักลงทุนไทยควรเอาประเด็นดังกล่าวมาประกอบพิจารณา แต่ขณะเดียวกันก็ต้องติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด แล้วก็มีการใช้ข้อมูลจากคนที่มีความรู้ มีความเป็นมืออาชีพ เข้ามาใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

Gold funds allowed in Thailand

The Capital Market Development Committee today approved regulations that will allow investment-fund firms to invest directly in gold bullion.

At present, they can only make indirect investment in gold, either through overseas gold funds or gold futures. After a meeting this month, the com?mittee endorsed three forms of direct investment: a simple gold fund that invests in bullion or through financial papers in which prices move in line with gold prices; gold exchange-traded funds (ETFs); and complex gold funds for which returns are specified in special terms. Complex gold funds' returns may move in the opposite direction of bullion price, for example.

Fund companies will be required to specify insurance terms and storage measures clearly.

Gold traders can also be appointed as the selling agents for gold ETFs, while gold-futures brokers can bypass securities firms and directly send sell and buy orders for the ETFs to the Stock Exchange of Thailand's system.

"The regulations on the gold funds and agents are to promote new products as new investment tools for investors. This would also grant access to gold traders in helping develop the industry," said Thirachai Phuvanartnaranubala, secretary-general of the Securities and Exchange Commission and chairman of the committee.

Foreign govts allowed to offer securitisation in Thailand

The Capital Market Supervisory Board has allowed foreign governments to offer securitisation in Thailand, which the transactions can be executed in both baht and foreign currencies.

Issuers however are obliged to reveal associated foreign exchange risks if the securitised papers are denominated in foreign currencies for investor protection. They must also specify other risks involving overseas originators, if the securitised issue relies on overseas income and if there is limitation on legal enforcement.



"The permission is in line with Thailand's capital market development plan, to establish the linkage with Asean markets. These will facilitate Asean members' offerings. The securitisation permission will also promote Thailand's regional presence. Once the governments have access to the Thai market, companies in the respective countries will see opportunities in penetrating Thailand for fund raising or listing," said Thirachai Phuvanartnaranubala, secretary-general of the Securities and Exchange of Thailand as a member of the CMSB.

Funds inflows trigger stocks surge

Capital inflows and the court verdict in the Map Ta Phut case seem to have ushered in a new era for the Thai stock exchange, which yesterday saw its market capitalisation hit a record high at Bt7.52 trillion while the SET Index returned to the pre-1997 crisis level at 929.90 points.


The index gained 1.02 per cent to reach a new 14-year high. On November 28, 1996, the index stood at 938.42 points before sliding as low as 240 points in the aftermath of the 1997 financial crisis. Meanwhile, the market cap was the highest since the Stock Exchange of Thailand


Stock analysts attributed the bull run to the market relief as all but two Map Ta Phut projects were unlocked. All energy stocks with huge market capitalisation witnessed advances in share prices, led by PTT which gained 8.18 per cent to Bt291. PTT Aromatics and Refining (PTTAR) went up 6.84 per cent to Bt25, PTT Chemical was up 3.40 per cent to Bt106.50, and Siam Cement was up 3.3 per cent to Bt313.

The bull run, however, surprised the Securities and Exchange Commission. SEC Secretary-General Thirachai Phuvanartnaranubala said the watchdog and the Stock Exchange of Thailand would closely monitor the transactions. So far, they have witnessed no trading irregularities and believed that the sentiment was mainly driven by foreign investor confidence in Thai economic fundamentals.

As the market turnover was extraordinarily high at Bt52 billion yesterday, Thirachai urged all investors to base their investments on stock fundamentals.

An analyst at Far East Securities noted that yesterday, local investors shifted from stocks in commerce, transport and food industries to energy stocks, because of the end of the Map Ta Phut stalemate. Meanwhile, foreign fund inflows were also directed to energy and big-cap stocks, indicating their higher confidence.

SCB Securities noted that foreigners were net buyers in the past two weeks. One reason advanced for the jump was that the Thai market had lagged behind in the region, and the index was catching up with regional peers. While the Thai market attracted foreign investment, foreigners started selling stocks in Indonesia. SCB also said that some inflows to the equity market could come from the bond market, as returns are sliding amid the upward interest trend.

SEC chief urges further strengthening of capital market

By The Nation Published on September 22, 2010

There is more to be done to strengthen the capital market, Securities and Exchange Commission secretary general Thirachai Phuvanartnaranubala said in an interview with CNBC yesterday, when it comes to greater control on foreign companies.


He favoured the Malaysian model, which encourages the incor�poration of foreign companies' local operations in the country, to prevent negative consequences to local oper�ations in case of a global crisis.


"If something happens, the hold�ing companies can simply sell the shares in those companies, for example," he said, referring to the tough times facing American International Assurance (Thailand).

Thirachai also favoured more regulation of hedge funds, particularly the risk weight of their bank borrowing.

He reiterated that liberalisation of brokerage fees was important. The industry is slated for full liberalisation in 2012.

"The only way to make our local brokers strong and gear them towards a more competitive position abroad is really to make them face more competition at home. And the only way to do that is to lift all kinds of barriers. That we have been doing and we plan to continue with the plan," he said. "Unfortunately, we have to admit some of the brokers will have to make adjustments. They will have to plan."

He expressed confidence that local brokerage houses would be ready in two years' time, as the plan was announced five years in advance.

"We announced everything five years in advance, and if you have five years to plan and to link up with strategic partners abroad or try to go to niche market, if you cannot do that � five years is a long time."

In a separate development, the Asian Development Bank yesterday announced a US$300million (Bt9.2 billion) 15year loan to Thailand for capitalmarket development designed to boost invest�ment and support longterm, sustainable growth.

The loan was approved along with a technical assistance grant for the capitalmarket development programme, the ADB said in a statement released by its Manila office.

The loan funds are being released after the completion of an agreed series of measures undertaken by the government between 2007 and this year.

"Thailand's capital markets need to be deeper, more diversified and inclusive if Thailand is to avoid the middleincome trap and graduate to a highincome economy," said Kunio Senga, directorgeneral of the ADB's South Asia Department.

The programme is anchored to the government's Capital Market Development Master Plan for 200913, which sets out a road map for financesector development and reforms over the medium term.

The master plan focuses on key dimensions of capital markets, including developing the equity market, bond market and money market. The goal is to help the country transform from a middleincome to highincome economy through increased contribution of the domestic capital market to financ�ing domestic investment and economic growth.

The ADB's programme supports the government's agenda in four areas: regulatory environment; mar�ket efficiency, liquidity and transparency; market infrastructure; and new products and investors. To date, the government has made substantial headway, including establishing a timetable for the demutualisation of the Stock Exchange of Thailand, strengthening the surveillance and enforcement capabilities of the Securities and Exchange Commission, moves to develop the domestic bond market, and simpli�fying taxes on financial transactions, the ADB said.

SEC, securities firms strike deal on risk management

By THE NATION Published on September 24, 2010
The Securities and Exchange Commission and securities companies have reached a deal on measures to enhance risk-management involving proprietary trading, which includes a cap on day-trade transactions at 75 per cent of shareholders' equity starting on January 1.


According to the arrangement with the Association of Securities Companies, firms will have to come up with investment strategies and plans, including investment budgets and allocation. They need to come forward with a policy to handle investment losses, as well as analytical research on net liquidity. The policy must win the board of directors' approval and the board must report on investment progress.


Securities houses' investment handlers must also win the SEC's approval.

The SEC also highlighted measures to prevent securities-house employees from supporting stock-price manipulation.

In many cases, it has been found that marketing officers and/or executives acted in a way that could have helped clients in share trading, which could violate the law. Companies must thoroughly check the trading records from time to time to see if the transactions from a particular team are concentrated on a particular stock. If any irregularity is found, they must notify the SEC.

Securities firms also agreed to monitor closely Internet-based orders for a particular stock whose price moves irregularly or stocks that are under the Stock Exchange of Thailand's watch.


Securities firms were also split into three groups - those affiliated with commercial banks, those that are local business arms of foreign companies, and others - to discuss obstacles to formulating the Asean linkage and will present their proposals to the SEC for discussion at the Asean Capital Markets Forum.

"The agreed measures will lift the standards of securities on several fronts and create confidence among investors," said SEC secretary-general Thirachai Phuvanartnaranubala. "Securities firms play an important role in driving the capital market on the right path with standard operations and consideration of investors and the market as a whole."

The SEC yesterday also signed a memorandum of understanding with the Anti-Money Laundering Office (AMLO) to increase collaboration in preventing laundering practices among financial institutions.

Pravej Ongartsittigul, SEC senior assistant secretary-general, said this was line with global practice under the Financial Action Task Force's guidelines. Though the SEC and AMLO have joined hands before in attacking money-laundering, this is the official confirmation of such cooperation, he said.

The strengthened ties will ensure that financial institutions are not acting as tools for money-laundering. Preventive measures will be set, with sufficient surveillance measures, he said.

Cross-border bond issuance initiative came to the fore as Asean moves closer to capital market integration

Sep 06 2010
The Asean capital market is poised to offer plain vanilla debt securities, including bonds and mutual funds to retail investors, by the end of 2012, with the ability to offer them the full suite of debt securities by 2013. Thirachai Phuvanatnaranubala, secretary-general of the Securities and Exchange Commission of Thailand, has said that this was in line with the Asean Capital Markets Forum, an initiative aimed at integrating the Asean capital market by 2015.


The vision

As part of the Asean cross-border bond initiative, bond issuers in Asean would be able to offer their debt issues to the various jurisdictions in the region using just one single prospectus. Thirachai told Complinet that this was another vision towards which Thailand was now working as part of its remit under the Asean Capital Markets Forum. Alongside this initiative, he said that the Thai SEC was also in the throes of seeking agreement from its allies to put in place a set of standards which would encompass disclosure, accounting and auditing.

Thailand's remit under the Asean Capital Markets Forum was to spearhead cross-border bond issuance and mutal fund distribution, while Singapore led the effort on mutual recognition of market profession, including financial advisers, credit rating agencies and auditors. Indonesia had been charged with revamping the legal framework that would allow actions on cross-border disputes to be taken more easily. Malaysia, on the other hand, was responsible for the work on the equity side to promote secondary listing and corporate governance.

Setting standards

Thirachai said that, during their work to determine disclosure and transparency standards for the governance of Asean cross-border bond issuance, the Asean regulators had referred extensively to the guidelines on cross-border offering set by the International Organisation of Securities Commissions. The Asean Capital Markets Forum has also been pushing for mutual recognition of credit rating agencies in the Asean region, and this would also form part of the regulatory framework for cross-border issuance. Thirachai said, however, that this could only be realised once credit rating agencies had been regulated. Therehad been a private sector initiative from Standard & Poor's, which had developed an Asean-scale ratings that now enabled ratings for each country to be comparable but it remained early days if the Asean Capital Markets Forum would adopt that standard. "We will be using international guidelines to craft the Asean standards," Thirachai added.


The Asean Capital Markets Forum has sought to develop and integrate the region's capital market by 2015. It was part of the bigger "Asean Economic Community Blueprint 2015" aimed at establishing Asean into a single market that would allow freer flow of goods and services, investments, labour and capital. The call for an integrated regional market had followed recognition that the region's capital markets were individually small characterised by limited products, low liquidity and high transaction costs.

The Asean brand

Thirachai said: "We are delivering an Asean brand, and we are trying to push Asean countries to adopt international standards and best practices so that there will be a better recognition of the Asean brand that will also inspire investors' confidence in Asean. The Asean Capital Markets Forum has shown strong commitment to enhance the attractiveness of Asean as a combined capital market for fundraising, as well as underlining Asean securities as an attractive asset class by raising the disclosure standards among Asean members to an international level. "He said the Asean cross-border bond issuance would benefit the countries in the region as well as issuers. "It means that we recognised the fact that the capital markets development in the various countries [in the region] cannot be at the same level. Some countries, such as Singapore, would already have the competitive edge but others would need to develop further, and the cross-border bond issuance initiative would create more opportunities for everyone."

From the issuers' perspective, cross-border bond issuance would enable them to tap into funds easily while reducing cost of funds. Thirachai said Asean regulators had recognised that some of the regulations governing the region's financial services were far more stringent than those of their western counterparts. "They [the rules here] protect investors far more. That perhaps stemmed from the fact that Asean regulators viewed investors in Asia as less sophisticated and as needing more protection, but that has also hampered cross-border issuance as that would mean more cost to issuers," he said.

'Asean and plus standards'

According to Thirachai this was the motivation behind the establishment of the "Asean and plus standards scheme" for multi-jurisdictional offerings of securities in the region. The scheme, now adopted by Malaysia, Singapore and Thailand, aimed to facilitate multi-jurisdictional offerings of plain equity and debt securities by allowing issuers to comply with one single set of common disclosure standards, known as the "Asean standards", coupled with additional requirements prescribed by each jurisdiction, known as the "plus standards". Cross-border issuers would be subject to a common set of disclosure requirements based on the IOSCO standards, with additional disclosure ("plus standards") as required by individual jurisdictions under their particular market practices, laws and regulations. They would also be required to adopt fully the accounting and auditing standards set out in the International Financial Reporting Standards and the International Standards on Auditing. The overall scheme, according to Thirachai, aimed to bring greater efficiency and cost savings for issuers undertaking cross-border offerings.

As cross-border activities are expected to grow following the capital market integration, the Thai SEC said that it would also be working closely with the Asean Capital Markets Forum in terms of supervision and enforcement. "This is to ensure that investors are duly protected from cross-border fraud and misconduct, that the integrity of the market is high and that systematic risk is well-managed," it added.